ประกวดออกแบบคาแรคเตอร์ และสินค้าสร้างสรรค์จากตำนานเรื่องผีไทย

เปิดรับสมัครถึงวันที่ 10 เมษายน 2568

Days
Hours
Minutes
Seconds
กิจกรรมปิดรับสมัครแล้ว
Thai Ghost Creator ศิลปะไม่ตาย ท้าทายไอเดียหลอน

ขอชวนนิสิต นักศึกษา หรือศิลปินที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี มาปลดปล่อยไอเดียเจ๋งๆ กับกิจกรรมค้นหานักออกแบบคาแรคเตอร์และสินค้าสร้างสรรค์จากตำนานเรื่องผีไทย ในหัวข้อ “Spirit of Art: Thai Ghost Creator ศิลปะไม่ตาย ท้าทายไอเดียหลอน” ชิงรางวัลสุดพิเศษ ในการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ญี่ปุ่น และเงินสนับสนุนผลิตชิ้นงานจริง 30,000 บาท

ความเป็นมาของโครงการ

“ผี” เป็นสถาบันความเชื่อหนึ่งของสังคมไทยที่แฝงวัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นท้องถิ่นที่สะท้อน วิถีชีวิต ความเชื่อ และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน และด้วยความน่ากลัว ลี้ลับ น่าค้นหาทำให้เรื่องผีไทยเป็น Content ที่สามารถตีตลาดโลกได้ สามารถนำมายกระดับเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมต่อยอดให้เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวและส่งออกไปทั่วโลก แต่ในปัจจุบันตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับผีในท้องถิ่นหลายแห่งกำลังเลือนหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรักษา ต่อยอดซึ่งมรดกวัฒนธรรมเรื่องผี จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการ “วิญญาณแห่งศิลป์ ตำนานท้องถิ่นผีไทย” โดยนำความเชื่อเรื่องผีและตำนานประจำถิ่น มาสร้างสรรค์ใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย โดย Engage คนรุ่นใหม่ให้นำเอาความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะ แฟชั่นมาสะท้อนวัฒนธรรมเรื่องผี ซึ่งไม่เพียงช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย แต่ยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวได้อีกด้วย

โจทย์การออกแบบคาแรคเตอร์และสินค้าสร้างสรรค์

ค้นหานักออกแบบคาแรคเตอร์ (Character Creator) และสินค้าสร้างสรรค์จากเรื่องผีและตำนานความเชื่อ สิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ ในรูปแบบสร้างสรรค์ผ่านจินตนาการ เพื่อนำเรื่องผีมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้าง Branding ระดับท้องถิ่นในมุมมองใหม่ ๆ ให้เป็นที่รู้จักในไทยและต่างประเทศ

  1. การออกแบบคาแรคเตอร์
    • คาแรคเตอร์ต้องมีต้นแบบมาจากตำนาน เรื่องเล่า ผี สิ่งลี้ลับที่มีอยู่ในวัฒนธรรมไทย หรือในวัฒนธรรมท้องถิ่น
    • นำมาตีความใหม่ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ และสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้า หรือสื่ออื่น ๆ ได้
    • มี Story ชัดเจน สามารถเล่าเรื่องราวที่มาที่ไปของคาแรคเตอร์ได้
  2. สินค้าสร้างสรรค์
    • นำคาแรคเตอร์มาออกแบบเป็นผลงาน ที่สามารถพัฒนาเป็นสินค้าจริงได้ เช่น ของที่ระลึก เครื่องประดับ เสื้อผ้า หรือของตกแต่งบ้าน ฯลฯ
    • มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ สามารถเข้าสู่ตลาดและดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้
    • มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอเรื่องผีไทยให้ร่วมสมัยและเข้ากับไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน

คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด

  1. ผู้สมัครต้องเป็นนิสิต นักศึกษา หรือศิลปินที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี
  2. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นรายบุคคล (ประเภทเดี่ยว)
  3. สามารถส่งผลงานได้ คนละ 1 ผลงานเท่านั้น
  4. ผู้สมัครจะต้องเข้าร่วมทุกกิจกรรมที่โครงการกำหนด

ขั้นตอนการส่งผลงานเข้าประกวด

  1. กรอกแบบฟอร์มการสมัครให้ครบถ้วน พร้อมอัปโหลดไฟล์ผลงานที่เว็บไซต์ www.thaighosts.com
  2. รายละเอียดและรูปแบบการส่งผลงาน รายละเอียดผลงาน (Project Proposal) นำเสนอในรูปแบบ PPT หรือ PDF Format ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้
  • Storyline เรื่องราวความสำคัญ ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นและมีความเชื่อมโยงกับคติ ความเชื่อ หรือประเพณีของคนไทย
  • การออกแบบคาแรคเตอร์ (Character Design)
    • ชื่อผลงาน
    • แนวคิดหลักของผลงาน (Concept) อธิบายที่มาและแรงบันดาลใจของเรื่องราวที่เลือกมา เช่น ตำนาน ความเชื่อท้องถิ่น หรือประสบการณ์เกี่ยวกับผีไทย
    • Character’s Guide (รายละเอียดเกี่ยวกับคาแรคเตอร์)
    • ภาพตัวอย่างคาแรคเตอร์และอธิบายรายละเอียดลักษณะเด่น
      • ภาพ 1 Action ที่มองเห็นอย่างน้อย 3 ด้าน หน้าตรง, ด้านข้าง, ด้านหลัง
      • ภาพ Freestyle 2 Action (ไม่จำกัดรูปแบบ)
  • การออกแบบสินค้า (Product Design)
    • นำคาแรคเตอร์มาออกแบบเป็นสินค้าอย่างน้อย 3 ประเภท เช่น ของที่ระลึก เครื่องประดับ เสื้อผ้า หรือของตกแต่งบ้าน ฯลฯ
  • ส่งไฟล์แนบผลงาน Character Design และ Product Design เป็นไฟล์ (Format) Ai หรือ JPEG หรือ PNG และฉากหลังของรูปต้องโปร่งใส ความละเอียดผลงานต้องไม่ต่ำกว่า 300 dpi

เงื่อนไขการส่งผลงานเข้าประกวด

  1. ผู้ประกวดจะต้องออกแบบสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ได้แก่ การลอกเลียนแบบ หรือนำงานออกแบบที่มีอยู่แล้ว หรือเป็นของผู้อื่นมาตกแต่ง ปรับปรุง แก้ไข ไม่ซ้ำกับผลงานที่เคยมีการเผยแพร่ หรือเป็นที่รู้จักมาก่อนแล้วหรือเคยได้รับรางวัลใด ๆ มาก่อน หากทางผู้จัดตรวจพบว่ามีการกระทำดังกล่าว หรือมีผู้ร้องเรียนและตรวจสอบพบว่าเป็นความจริง ทางผู้จัดจะถือว่าการสมัครเป็นโมฆะ และถือเป็นความรับผิดชอบของ ผู้เข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียว
  2. ทางผู้จัดจะไม่รับผิดชอบความถูกต้องของเนื้อหาและที่มาของเนื้อหาในการนำเสนอผลงานของผู้เข้าประกวดทั้งหมด หากมีผู้ร้องเรียน ผู้เข้าประกวดจะเป็นผู้รับผิดชอบในการพิสูจน์ทราบที่มาของเนื้อหานั้น
  3. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้เข้าประกวดส่งมาเพื่อใช้ในการเเข่งขันจะถือว่าผู้เข้าประกวดได้ยินยอมในการให้ใช้ข้อมูลได้โดยไม่ละเมิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ทั้งนี้ทางผู้จัดจะสามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าแข่งขันไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
  4. ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับการประกวด โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  5. ลิขสิทธิ์ผลงานจะเป็นของผู้เข้าประกวดเมื่อจบโครงการ ทั้งนี้ผู้จัดจะยังคงได้สิทธิ์ในการประชาสัมพันธ์ผลงานของโครงการดังกล่าว โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  6. เงินรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวดได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าใช้จ่ายทั้งปวงไว้ด้วยแล้ว โดยผู้ได้รับรางวัลต้องรับผิดชอบภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
  7. ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้งหมดจะถูกตัดสิทธิ์การประกวดทันทีและแม้จะประกาศผลไปแล้ว ทางผู้จัดสามารถเรียกคืนรางวัลได้เต็มจำนวน
  8. ทางผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้ง ให้ทราบล่วงหน้า
  9. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด โดยผู้เข้าประกวดไม่สามารถโต้แย้งไ

กำหนดการ

  • วันที่ 10 มีนาคม 2568 – 10 เมษายน 2568 เปิดรับสมัครเข้าร่วมการประกวด และส่งผลงานการประกวด
  • วันที่ 17 เมษายน 2568 ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกรอบที่ 1 จำนวน 30 ผลงาน
  • วันที่ 24 เมษายน 2568 กิจกรรม Workshop ให้ความรู้ต่อยอดด้านไอเดียสร้างสรรค์ สำหรับผู้ผ่านการคัดเลือกรอบ 30 ผลงาน
  • วันที่ 9 พฤษภาคม 2568 ประกาศผลผู้ชนะการประกวด 10 ผลงาน
  • วันที่ 9 พฤษภาคม 2568 – 15 พฤษภาคม 2568 ผู้ชนะการประกวดส่ง Prototype สินค้าที่ออกแบบ 3 ประเภท (ประเภทละ 1 ชิ้น)
  • วันที่ 15 พฤษภาคม 2568 – 10 มิถุนายน 2568 ผู้ชนะการประกวดผลิตชิ้นงานจริง สำหรับนำไปจัดแสดงนิทรรศการ “Showcase Your Imagination จากตำนานสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจ” ที่ ICONSIAM (ระยะเวลา 10 วัน)
  • วันที่ 18 มิถุนายน 2568 ผู้ชนะการประกวดเข้าร่วมพิธีเปิดงานนิทรรศการ “Showcase Your Imagination จากตำนาน สู่มูลค่าทางเศรษฐกิจ” ที่ ICONSIAM
  • วันที่ 18 มิถุนายน 2568 – 27 มิถุนายน 2568 นิทรรศการ “Showcase Your Imagination จากตำนานสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจ” จัดแสดงผลงานของผู้ชนะการประกวดที่ ICONSIAM
  • สิงหาคม 2568 (กำหนดการเดินทางจะยืนยันอีกครั้ง) ผู้ชนะการประกวดเดินทางไปร่วม Symposium และ Workshop ที่ Nishougakusha University ประเทศญี่ปุ่น

รางวัลการประกวด

  • ผู้ชนะประกวด 10 ผลงาน จะได้รับเงินสนับสนุนในการผลิตชิ้นงานจริง มูลค่า 30,000 บาท
  • ผู้ชนะประกวด 10 ผลงาน จะถูกนําผลงานไปจัดเเสดงในนิทรรศการที่ ICONSIAM ระยะเวลา 10 วัน
  • ได้โอกาสในการจับคู่ธุรกิจกับผู้ที่สนใจจากภาครัฐและเอกชน
  • ผู้ชนะการประกวด 10 ผลงาน ได้เดินทางไปร่วม Symposium และ Workshop เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้วัฒนธรรมเรื่องผี และได้นําผลงานไปจัดแสดงที่ Nishougakusha University ประเทศญี่ปุ่น

เกณฑ์การตัดสิน

  1. ไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ 60%
    • มีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ ประเพณี พิธีกรรม ที่สะท้อนวิธีชีวิตของคนในท้องถิ่น 5.1.2 มีแนวคิดและมุมมองใหม่ในการตีความเรื่อง “ผีไทย” ที่สร้างสรรค์
    • นําเสนอเอกลักษณ์ของความเป็น “ผีไทย” ถ่ายทอดเอกลักษณ์ของตํานานผี ความเชื่อ หรือวัฒนธรรมไทยได้ชัดเจน
    • การออกแบบดีไซน์ มีความสร้างสรรค์ แปลกใหม่ นําเสนอได้น่าสนใจ
  2. ศักยภาพในเชิงพาณิชย์ 40%
    • สามารถนําไปผลิตเป็นสินค้าได้หลากหลาย เช่น ของสะสม เครื่องแต่งกาย ของใช้ ฯลฯ
    • มีดีไซน์ที่สามารถปรับใช้กับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ เช่น ดิจิทัล ของที่ระลึก แอนิเมชัน
    • สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีความเป็นสากล หรือสามารถเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายได้
    • ดีไซน์มีความโดดเด่นทันสมัยและตอบโจทย์เทรนด์ปัจจุบัน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

อ้างอิงจาก

〵(^ o ^)〴