ปิดรับสมัครวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 เวลา 23.59 น.
Days
Hours
Minutes
Seconds
กิจกรรมปิดรับสมัครแล้ว
สาขาอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญชวนน้องๆ นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายและปวช. เข้าร่วมการประกวด การแข่งขันประกวด Poster หรือ E-poster เรื่อง ออกแบบผลิตภัณฑ์งานไม้ ในงานเปิดกล่องชอล์กปีที่ 21 ประจำปีการศึกษา 2566 ชิงเงินรางวัล และเกียรติบัตร
คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
- การแข่งขันนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – ม.6) หรือเทียบเท่า (ปวช.1-3)
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเป็นนักเรียนที่สังกัดภายในสถานศึกษาที่ส่งเข้าแข่งขัน
- สถานศึกษาไม่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เข้าแข่งขันได้ในทุกกรณี
ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน
- การแข่งขันประเภททีมละ 3 คน
- สถานศึกษาสามารถส่งผู้เข้าแข่งขันได้ไม่เกิน 3 ทีม
- ในแต่ละทีมจะต้องมีครูที่ปรึกษาทีมละ 1 คน
หมายเหตุ : เมื่อสมัครครบ 10 ทีมจะปิดรับแบบฟอร์มการสมัครทันที
กติกาการแข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันต้องออกแบบผลิตภัณฑ์งานไม้ มา 1 ผลงานต่อทีม โดยที่ผู้เข้าแข่งขันต้องระดมความคิดออกแบบผลิตภัณฑ์จากไม้ที่สามารถส่งเสริมด้านความผาสุก (Well-being) และนำแนวคิดและรูปภาพผลงานที่ออกแนบมายังแบบฟอร์มการสมัคร
- ผลงานที่ออกแบบต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นและต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยส่งประกวดมาก่อน
- ผู้เข้าแข่งขันต้องนำผลิตภัณฑ์งานไม้ของตนไปสร้างเป็นสื่อนำเสนอที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะศึกษาศาสตร์ ณ งานเปิดกล่องชอล์กปีที่ 21 โดยทำสื่อนำเสนอให้อยู่ในรูปแบบ Poster หรือ E-poster
- ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกได้ว่าอยากออกแบบสื่อนำเสนอในรูปแบบ Poster หรือ E-poster โดยขนาดของโปสเตอร์หรือ E-poster ต้องมีขนาด A3 (29.7 x 42.0 เซนติเมตร) สามารถออกแบบแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้
- ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้โปรแกรมที่กำหนดให้ได้เท่านั้น ได้แก่ โปรแกรม Photoshop Illustrator และ Canva ในกรณีผู้เข้าแข่งขันใช้ Canva ไม่อนุญาตให้ใช้ Template และองค์ประกอบที่ติด Canva Pro
- ในการส่งผลงานนำเสนอผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องอัพโหลดทาง Google Drive ที่ทางผู้จัดการแข่งขันได้กำหนดไว้ให้เท่านั้น โดยผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องบันทึกทั้งหมด 2 นามสกุลไฟล์
PNG และไฟล์ต้นฉบับของผลงาน (เช่น Photoshop ส่ง PSD) *ในกรณีที่ทีมใดทำ Poster หรือ E-poster แบบเคลื่อนไหวได้ให้บันทึกเป็นไฟล์ .gif - การตัดสินจะตัดสินจากการรวบรวมคะแนน การประเมินจากคณะกรรมการ โดยจะมีคะแนนรวมทั้งสิ้น100คะแนน
การสมัครเข้าร่วมแข่งขัน
- ประชาสัมพันธ์โครงการตั้งแต่วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566 พร้อมชี้แจงหลักเกณฑ์การแข่งขันในแต่ละรอบ ผ่านทางเพจ
- เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2566 – 19 พฤศจิกายน 2566 ปิดรับสมัคร 23.59 น. ผู้เข้าร่วมการประกวดกรอกใบสมัครและอัปโหลดใบสมัครในรูปแบบไฟล์ ผ่านระบบออนไลน์ด้วย Google Form
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวด วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ผ่านทาง Facebook : เปิดกล่องชอล์กปีที่ 21 คณะศึกษาศาสตร์ มช.
หลักเกณฑ์ในการแข่งขัน
- ออกแบบผลิตภัณฑ์จากไม้ มา 1 ผลงานต่อทีม ผู้เข้าแข่งขันต้องระดมความคิดและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานไม้ที่สามารถส่งเสริม “การเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์” ให้เกิดด้านความผาสุก (Well-being) โดยแนบแนวคิดและรูปภาพผลิตภัณฑ์งานไม้ของทีมตนเองมายังแบบฟอร์มการสมัครด้วย
- ผู้เข้าแข่งขันต้องนำผลิตภัณฑ์งานไม้ของตนไปสร้างเป็นสื่อนำเสนอที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะศึกษาศาสตร์ ณ งานเปิดกล่องชอล์กปีที่ 21 โดยทำสื่อนำเสนอให้อยู่ในรูปแบบ โปสเตอร์ หรือ E-poster
- ผู้เข้าแข่งขันควรใช้เนื้อหาที่ถูกต้องและไม่ละเมิดลิขสิทธิรูปภาพหรือคัดลอกเนื้อหาจากแหล่งอื่นๆ หากผู้เข้าแข่งขันละเมิดกติกา ทางคณะกรรมการจะตัดสิทธิ์การประกวด หากชนะจะถูกยึดรางวัลทุกอย่างคืน
กำหนดการการแข่งขัน
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2566 กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา 7.00 น. – 15.00 น. โดยมีระยะเวลาดังนี้
- 07.00 น. – 08.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ที่ ถนนหน้าตึก EB2
- 08.00 น. – 08.45 น. พิธีเปิด
- 08.45 น. – 09.00 น. พาผู้เข้าแข่งขันเข้าห้องแข่งขันพร้อมอธิบายรายละเอียดการแข่งขัน
- 09.10 น.- 12.00 น. เริ่มทำการแข่งขัน
- 12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
- 13.00 น. – 14.00 น. นำเสนอผลงาน
- 14.00 น. – 15.00 น. ให้คะแนนและรอประกาศผลรางวัล
รางวัลการประกวด
- รางวัลชนะเลิศ ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัลจำนวน 1,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลจำนวน 700 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลจำนวน 500 บาท
ติดต่อสอบถาม
- นางสาวคัทรินทร์ มะโนวงค์ เบอร์โทรศัพท์ 080-6402982
- นายสรศักดิ์ เชียงปุ๋ย เบอร์โทรศัพท์ 062-5467900
อ้างอิงจาก
- ฝ่ายประชาสัมพันธ์ การแข่งขันประกวด Poster หรือ E-poster เรื่องออกแบบผลิตภัณฑ์งานไม้
- Facebook : สาขาอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Post Views: 1,327