ประกวดเรียงความ หัวข้อ “อนาคตการศึกษาของเด็กไทย และอาชีพในฝันของเด็กไทยในอนาคต”

เปิดรับผลงานถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เวลา 23.59 น.

Days
Hours
Minutes
Seconds
กิจกรรมปิดรับสมัครแล้ว
อนาคตการศึกษาของเด็กไทย และอาชีพในฝันของเด็กไทยในอนาคต

ด้วยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และมูลนิธิตากสินเพื่อพัฒนาการศึกษา เห็นความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนนโยบายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำ และนโยบายการผลิตและพัฒนากำลังคนช่วงวัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้ร่วมกันกำหนดให้มีกิจกรรมการประกวดเรียงความ หัวข้อ “อนาคตการศึกษาของเด็กไทย และอาชีพในฝันของเด็กไทยในอนาคต” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ทุกสังกัดทั่วประเทศ ที่มีความสนใจเขียนเรียงความเพื่อบอกเล่าเรื่องราวการศึกษาของเด็กไทยในอนาคตที่สนองตอบต่ออาชีพและการทำงาน รวมทั้งการวางเป้าหมายชีวิต หรือเลือกอาชีพต่าง ๆ ในอนาคตตามความสนใจและความถนัดของตนเอง ซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาของประเทศ

หัวข้อเรียงความ

“อนาคตการศึกษาของเด็กไทย และอาชีพในฝันของเด็กไทยในอนาคต”

คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด

เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) ทุกสังกัดทั่วประเทศ

ประเภทการประกวด และการแบ่งระดับการประกวด

  1. เป็นการประกวดประเภทเดี่ยว
  2. การประกวดแบ่งออกเป็น 1 ระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3)

ลักษณะผลงานเรียงความที่ส่งเข้าประกวด

  1. เป็นเรียงความภาษาไทยที่มีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จัดประกวด
  2.  มีความสมบูรณ์ของเนื้อหาที่ต่อเนื่อง สัมพันธ์กัน กระชับ เข้าใจง่าย มีความคิดริเริ่ม และมีการใช้สำนวนภาษาไทยที่ถูกต้องตามอักขระวิธีการใช้ภาษาไทย
  3. เป็นผลงานการเขียนของผู้เข้าประกวดเขียนเอง โดยไม่คัดลอก ดัดแปลง หรือแปลผลงานจากผู้อื่น หรือไม่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ช่วยในการเขียน และเป็นเรียงความที่ไม่เคยส่งเข้าประกวด หรือได้รับการตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อน
  4. เขียนด้วยลายมือตัวบรรจง หรือพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ลงในกระดาษ A4 ตัวอักษรที่ใช้ในการพิมพ์ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร Point 16 (ตัวปกติ) ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4
  5. ผู้เข้าประกวด 1 คน สามารถส่งเรียงความเข้าประกวดได้เพียง 1 ชิ้น
  6. มีผู้รับรองเรียงความนี้ว่า ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเป็นผู้เรียบเรียงผลงานด้วยตนเอง และไม่เคยเผยแพร่หรือเคยส่งผลงานเข้าประกวดที่ใดมาก่อน
  7. หากเรียงความที่ส่งเข้าประกวดไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น คณะกรรมการตัดสินการประกวดอาจพิจารณางดเว้นรางวัลการพิจารณาคัดเลือกรางวัลใดรางวัลหนึ่งก็ได้

การส่งผลงาน

ผู้สมัครส่งใบสมัครที่มีครูลงนามรับรองการเป็นนักเรียน และผู้สมัครและผู้ปกครองลงนามยินยอมให้เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัคร รวมทั้งผลงานที่ส่งเข้าประกวด พร้อมสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรนักเรียนของผู้สมัครที่ลงนามรับรองสำเนา โดยมีวิธีการส่งผลงานเข้าประกวด ดังนี้
  1. ส่งทางไปรษณีย์ ไปยังสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักนโยบายและแผน การศึกษา กลุ่มนโยบายการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เลขที่ 99/20 ถนนสุโขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 (วงเล็บมุมซองว่า “เรียงความส่งเข้าประกวด”)
  2. จัดส่งด้วยตนเอง หรือจัดส่งโดยใช้บริการขนส่งเอกชน ณ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เลขที่ 99/20 ถนนสุโขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300ในวันและเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น. (วงเล็บมุมซองว่า “เรียงความส่งเข้าประกวด สานักนโยบายและแผนการศึกษา”)
  3. ส่งทาง E-mail: oec.tfed@gmail.com โดยแนบไฟล์ใบสมัครและผลงาน ในรูปแบบไฟล์ PDF (กรณี แนบลิงค์ไฟล์ต้นฉบับผ่านทาง Google Drive ขอความกรุณาให้เปิดไฟล์เป็นสาธารณะ)
  4. ส่งทาง Google Form ตาม QR Code ดังปรากฏ โดยแนบไฟล์ใบสมัครและผลงาน ในรูปแบบไฟล์ PDF https://docs.google.com/forms
***** ทั้งนี้ การส่งผลงานขอให้สมัครผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่งเท่านั้น ****

ระยะเวลาการส่งผลงาน

ส่งใบสมัครและผลงาน พร้อมสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรนักเรียนของผู้สมัคร ตั้งแต่วันที่ 1 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 24.00 น. (กรณีส่งใบสมัครและผลงานด้วยตนเอง หรือจัดส่งโดยใช้บริการขนส่งเอกชน ที่สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ส่งได้เฉพาะวันและเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 18.30 น. – 16.30 น. หากผลงานไม่ถึงสานักงานฯ ตามวันและเวลาที่กาหนด ไม่ว่าจากสาเหตุใด คณะกรรมการฯ ของดรับการพิจารณาผลงาน) และกรณีส่งผลงานทางไปรษณีย์จะยึดวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นหลัก หากเกินกำหนดระยะเวลาส่งผลงาน คณะกรรมการฯ ของดรับการพิจารณาผลงาน

เกณฑ์การพิจารณาตัดสิน

เกณฑ์การพิจารณาตัดสิน พิจารณาจากเรียงความ 100 คะแนน ประกอบด้วย
  1. เนื้อหาสอดคล้องกับหัวข้อการประกวด 10 คะแนน
  2. กระบวนการคิด และความคิดสร้างสรรค์ 30 คะแนน
  3. การวิเคราะห์หรือใช้เหตุผลสนับสนุนที่ดี 20 คะแนน
  4. การใช้ภาษากระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย สละสลวย และถูกต้องตามอักขรวิธี 30 คะแนน
  5. องค์ประกอบการเขียนเรียงความ 10 คะแนน
อนึ่ง คณะกรรมการฯ อาจขอให้ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดนาเสนอสาระสาคัญของเรียงความ และหรือการสัมภาษณ์เพื่อประกอบการตัดสินด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยใช้ช่องทางออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นเหมาะสม ***** ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด *****

รางวัลการประกวด

  • รางวัลที่ 1 จำนวน 1 รางวัล เงินสด 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
  • รางวัลที่ 2 จำนวน 1 รางวัล เงินสด 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
  • รางวัลที่ 3 จำนวน 1 รางวัล เงินสด 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
  • รางวัลชมเชย จำนวน 5 รางวัล เงินสดรางวัลละ 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
ทั้งนี้ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทุกคนจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมการประกวดผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์

การประกาศผล

  1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานของผู้ส่งเอกสารเท่านั้น หากตรวจสอบภายหลังแล้วพบว่าผลงานดังกล่าวคัดลอกหรือเลียนแบบมาจากผู้อื่น หรือใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ช่วยในการเขียน หรือเป็นเรียงความที่เคยส่งเข้าประกวด หรือได้รับการตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อน คณะกรรมการจะพิจารณาให้ผลการประกวดเป็นโมฆะและขอเรียกคืนเงินรางวัล พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
  2. คณะกรรมการจะไม่คืนต้นฉบับแก่ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

ดาวน์โหลดใบสมัคร

ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://backoffice.onec.go.th/

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

  • นางสาวณัชชา หนูบุญคง โทรศัพท์ 02-668-7123 ต่อ 2446
  • นายชยุต วิจิตรวงศ์ โทรศัพท์ 02-668-7123 ต่อ 2413

อ้างอิงจาก

〵(^ o ^)〴