โครงการประกวดผลงานนวัตกรรมทางการศึกษา

เปิดรับผลงานถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 เวลา 23.59 น.

Days
Hours
Minutes
Seconds
กิจกรรมปิดรับสมัครแล้ว
ประกวดการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ประจำปี 2567

ประชาสัมพันธ์ ขอเชิญส่งผลงานเข้าร่วมโครงการประกวดผลงานนวัตกรรมทางการศึกษา ประจำปี 2567 สำหรับครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคคลทั่วไป ที่มีไอเดียนวัตกรรมที่น่าสนใจ มาร่วมแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์และเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงในการศึกษาไปพร้อมๆ กัน ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 20,000 บาท

คุณสมบัติผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

  1. ผู้ประกวดเป็นครู หรือบุคลากรในสถานศึกษาในหน่วยงาน/องค์กร หรือบุคคลทั่วไป
  2. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดยื่นผลงานผ่าน Google Form Link: https://docs.google.com/forms
  3. ส่งผลงานภายในวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใน 23.59 น.

คุณลักษณะนวัตกรรมที่ใช้ในการส่งประกวด

  1. เป็นนวัตกรรมเชิงประจักษ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา และสอดคล้องกับ บริบทของสถานศึกษานั้น ๆ
  2. นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ดําเนินการมาแล้วย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี (ตั้งแต่ปี2564)
  3. นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลในระดับประเทศหรือเทียบเท่ามาก่อน
  4. นวัตกรรมที่ได้รับการพิจารณาให้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจะได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะ ใน Facebook Fanpage: M.Ed. Innovations in Learning and Teaching ของหลักสูตร นวัตกรรมการเรียนรู้และการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  5. ผู้ส่งผลงานต้องเป็นเจ้าของนวัตกรรมและเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานเอง
เงื่อนไข :
  • คําตัดสินของกรรมการถือเป็นอันสิ้นสุด
  • เนื้อหา กระบวนการต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย หากมีการกระทําความผิดผู้เข้าประกวดต้อง รับผิดชอบตามกฎหมาย

แนวทางการพิจารณา

  1. รายงานนวัตกรรมไม่เกิน 10 หน้า และได้รับการรับรองจากผู้บังคับบัญชา โดยบันทึกเป็น PDF (ขนาดไฟล์ไม่เกิน 100 MB)
  2. วิธีการจัดการส่งคลิปในรูปแบบไฟล์วิดีโอ (Clip Video) ดําเนินการดังนี้
    • อัฟโหลดคลิปวิดีโอของตนเองขึ้น YouTube
    • กรอก Link ของคลิปวิดีโอลงใน Google Form
  3. ไฟล์โปสเตอร์ ขนาด A4 สรุปผลงาน (ขนาดไฟล์ไม่เกิน 10 MB) 
  4. ส่งผลงานรูปแบบ PDF และคลิปวิดีโอที่ Google Form Link: https://docs.google.com/forms

หมายเหตุ: ผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วม ประกาศผลการพิจารณารอบแรก วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม 2567

เกณฑ์การตัดสินนวัตกรรม

คณะกรรมการตัดสินให้คะแนนตามเกณฑ์การประเมินนวัตกรรมในหัวข้อต่อไปนี้
  1. ความคิดสร้างสรรค์และความแปลกใหม่ (25%)
  2. ประโยชน์และผลลัพธ์ (25%)
  3. ความเป็นไปได้และความยั่งยืน (25%)
  4. การนําเสนอ (25%)

การพิจารณาผลงานรอบแรก (คัดเลือก)

  1. พิจารณาผลงานพัฒนานวัตกรรมจากเอกสารทั้งหมด ตามที่ผู้ประกวดได้นําเสนอ
  2. การพิจารณาให้ใช้เกณฑ์การพิจารณาตัดสิน (รอบคัดเลือก) โดยกรรมการแต่ละท่านให้คะแนนตามแบบการให้คะแนนที่กําหนด ฝ่ายเลขานุการรวมคะแนนเพื่อคัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบตัดสิน ทั้งนี้ ผลงานที่เข้ารอบตัดสินต้องได้คะแนนตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกําหนด
  3. ในการพิจารณาขอให้กรรมการมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อความสมบูรณ์ของเอกสารที่นําเสนอ
  4. ผลงานที่ผ่านรอบคัดเลือก เป็นผลงานที่มีคะแนนสูงสุด 5 ผลงาน ร่วมกับดุลพินิจของ คณะกรรมการตัดสินฯ

การพิจารณาผลงานรอบตัดสิน

ในห้องนําเสนอออนไลน์ผ่าน Zoom วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
  1. ผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศนําเสนอผลงาน ต่อคณะกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ ณ ห้องพิจารณา ตัดสินออนไลน์ โดยมีระยะเวลานําเสนอผลงานไม่เกิน 15 นาทีต่อหนึ่งผลงาน
  2. การพิจารณาให้ใช้เกณฑ์การพิจารณาตัดสิน (รอบตัดสิน) โดยกรรมการแต่ละท่าน ให้คะแนน ตามแบบการให้คะแนนที่กําหนด และอภิปรายสรุปผลร่วมกันในคณะกรรมการฯ
  3. ในการพิจารณาขอให้ข้อคิดเห็น (ข้อดี ข้อเด่น ข้อควรปรับปรุง/พัฒนา) เพื่อประโยชน์แก่ผู้ สร้างสรรค์ในการพัฒนาปรับปรุงผลงานนวัตกรรมต่อไป
  4. กรณีคณะกรรมการตัดสินว่า ผลงานพัฒนานวัตกรรมส่งเข้าประกวดยังไม่ถึงเกณฑ์รับรางวัล ขอสงวนสิทธิ์ในการงดให้รางวัล ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านรอบคัดเลือกจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม

ปฏิทินกิจกรรม

  1. เปิดรับผลงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 เวลา 23.59 น.
  2. พิจารณาผลการประเมินรอบแรก วันที่ 25 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00 น.
  3. ประกาศผลการประเมินรอบแรก วันที่ 26 พฤษภาคม 2567 เวลา 12.00 น.
  4. ผู้เข้ารอบนำเสนอผลงานในรอบตัดสิน วันที่ 1 มิถุนายน 2567

รางวัลการประกวด

ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 20,000 บาท
  • รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 10,000 บาท
  • รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 5,000 บาท
  • รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 3,000 บาท
  • รางวัลชมเชย 1,000 บาท 2 รางวัล รวม 2,000 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

อ้างอิงจาก

〵(^ o ^)〴