ประกวดการสร้างไอเดีย (Ideation) ยุวชนอาสาสู่การสร้างพลังสร้างสรรค์ (Soft Power)

ปิดรับผลงานวันที่ 8 พฤศจิกายน เวลา 16.30 น.

Days
Hours
Minutes
Seconds
กิจกรรมปิดรับสมัครแล้ว
ประกวดการสร้างไอเดีย (Ideation) ยุวชนอาสาสู่การสร้างพลังสร้างสรรค์ (Soft Power)

สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดําเนิน โครงการยุวชนอาสา มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมจากการบูรณาการ ศาสตร์ในหลากหลายสาขาวิชา และนําองค์ความรู้ที่เรียนมาโดยมีชุมชนร่วมเป็นฐานในการนําองค์ความรู้ ทางวิชาชีพในสาขาที่เรียนสู่การปฏิบัติ (Community Integrated Learning Program: CIL) ในการนี้ สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เห็นควรจัดการประกวดการสร้างไอเดีย (Ideation) ยุวชนอาสาสู่ การสร้างพลังสร้างสรรค์ (Soft Power) ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ให้นิสิต/นักศึกษาได้แสดงผลงานในการสร้างสรรค์ Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนา กําลังคนให้มีทักษะสูงขึ้น เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยขึ้นเป็นผู้นํา Soft Power ของโลก โดยใช้แนวทาง/กลไกของโครงการยุวชนอาสา ดังนั้น จึงได้กําหนดรายละเอียดในการ ประกวด ดังต่อไป

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. เป็นนิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรี และ/หรืออนุปริญญา
  2. สมัครรูปแบบทีม ที่มีนิสิต/นักศึกษาตั้งแต่ 2 คณะขึ้นไป ทีมละไม่เกิน 10 คน โดยมี อาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 คนต่อทีม ทั้งนี้ ผู้สมัครแต่ละท่านสามารถสมัครได้เพียง 1 ทีม เท่านั้น

การเสนอผลงาน

  1. สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ยื่นเสนอ แห่งละไม่เกิน 2 ทีม แต่ละทีมสามารถเสนอได้ 1 ผลงาน เท่านั้น
  2. ผลงานจะประกอบไปด้วย 1 สาขา หรือมากกว่า 1 สาขาก็ได้ ตาม 11 สาขา Soft Power ของรัฐบาล

รูปแบบผลงาน

  1. ผลงานต้องแสดงให้เห็นถึง แรงบันดาลใจ การร้อยเรียงเรื่องราวความเป็นมาของ แนวคิดที่จะนํามาประยุกต์ เพื่อนํามาพัฒนาต่อยอดเป็น Soft Power ได้จริง ผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. ผลงานที่นําเสนอต้องเป็นแนวคิดที่ริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ หรือเป็นแนวคิดที่เกิดจากการพัฒนาและต่อยอดจากโครงการที่เคยดําเนินการมาแล้ว ทั้งนี้ ผลงานต้องไม่เคยได้รับรางวัลในการการประกวดจากที่ใดมาก่อน
  3. ผลงานที่นําเสนอต้องเป็นแนวคิดที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการเรียนสอนที่เชื่อมโยงกับชุมชน

ข้อกําหนดการส่งผลงาน

  1. ส่งผลงานตามแบบฟอร์มที่กําหนด พิมพ์ด้วยอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 จุด โดยแบบสรุปและข้อมูลทั่วไปของสถาบันอุดมศึกษา รวมไม่เกิน 5 หน้า A4 และคลิปวิดีโอ ความยาวไม่เกิน 3 นาที และหนังสือนําส่งผลงานที่ลงนามโดยอธิการบดีหรือรองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมาย จํานวน 1 ชุด
  2. เอกสารฉบับจริงตามข้อ 1) จัดส่งไปยังกลุ่มขับเคลื่อนและพัฒนา อววน. 3 ชั้น 17 กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เลขที่ 328 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 และส่งไฟล์ .doc และ .pdf ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ youthmhesi@gmail.com ภายในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ก่อนเวลา 16.30 น.

หมายเหตุ : ไม่รับพิจารณากรณีส่งผลงานล่าช้ากว่ากําหนดที่ระบุไว้และ/หรือจํานวนหน้าเกินกว่าที่กำหนด

ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม

  1. สป.อว. ประกาศรับสมัครผลงาน (Ideation) ระยะเวลา 11 ต.ค. 66
  2. สถาบันอุดมศึกษาส่งผลงานมายัง สป.อว. ระยะเวลา 8 พ.ย. 66
  3. คณะกรรมการของ สป.อว. พิจารณาคัดเลือกผลงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในเบื้องต้น ระยะเวลา 9 – 24 พ.ย. 66
  4. ทีมที่ผ่านการพิจารณาในเบื้องต้นนําเสนอผลงานและตอบข้อซักถามของคณะกรรมการ ระยะเวลา 29 – 30 พ.ย. 66
  5. คณะกรรมการพิจารณาตัดสินผลงาน ระยะเวลา 30 พ.ย. 66
  6. ประกาศผลและมอบรางวัล ระยะเวลา ธ.ค. 66

แนวทางการตัดสินผลงาน

คณะกรรมการตัดสินจะประเมินจากการเสนอผลงาน ดังนี้
  1. การประเมินจากข้อมูลตามแบบเสนอผลงานและไฟล์นําเสนอ (วิดีโอ) โดยมีกรอบการพิจารณา ดังนี้
    • ประเด็นการนําเสนอและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    • ความสอดคล้องของสาขาวิชา องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความต้องการของพื้นที่
    • ความเป็นไปได้ของแนวคิดที่จะเกิดขึ้นจริง
    • การเสริมพลังและการสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย
  2. การประเมินโดยการนําเสนอและตอบข้อซักถามของคณะกรรมการ
    • คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินผลงาน (Ideation) ที่ผ่านการคัดเลือกในเบื้องต้น จากข้อ 1 (ไม่เกิน 12 ทีม)
หมายเหตุ : ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

รางวัลการประกวด

การกําหนดรางวัลและรูปแบบของรางวัล ผลงานที่ผ่านการประเมินโดยเกณฑ์และการนําเสนอ จะได้รับโล่รางวัลและงบประมาณ สนับสนุนการดําเนินโครงการยุวชนอาสา ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อนําไปพัฒนาต่อยอดให้เกิด ผลผลิตและผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง รวมจํานวนไม่เกิน 6 รางวัล ดังนี้
  • รางวัลชนะเลิศ จํานวน 1 รางวัล งบประมาณสนับสนุน 500,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 จํานวน 1 รางวัล งบประมาณสนับสนุน 450,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 จํานวน 1 รางวัล งบประมาณสนับสนุน 450,000 บาท
  • รางวัลชมเชย จํานวน 3 รางวัล งบประมาณสนับสนุน 400,000 บาท

ประกาศผลการพิจารณา

สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะประกาศผลการตัดสิน ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.ops.go.th/th/driven

ติดต่อสอบถาม

ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางโทรศัพท์หมายเลข 02-039-5547 หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ youthmhesi@gmail.com

อ้างอิงจาก

คุณสมบัติผู้สมัคร

cat

〵(^ o ^)〴