โครงการ Design Hero 2024: OK ( E ) CIGARETTES ?

เปิดรับสมัครถึงวันที่ 27 กันยายน 2567 เวลา 23.59 น.

Days
Hours
Minutes
Seconds
กิจกรรมปิดรับสมัครแล้ว
โครงการ Design Hero 2024

Design Hero : OK ( E ) CIGARETTES ?

Wake Up and Understand the Hazards of Vaping and E – Cigarette

โครงการ Design Hero เป็นความร่วมมือระหว่าง art4d กับ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเฟ้นหาเยาวชนไม่จำกัดสาขาวิชาชีพที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปต่อยอดในเชิงธุรกิจ เพื่อการพัฒนาไปเป็นผู้ประกอบการ หรือสร้างผลงานที่นำไปใช้ได้จริง เปิดรับสมัครให้ส่งผลงานภายใต้ประเด็นสุขภาวะ ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 27 กันยายน 2567

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ

  1. เยาวชนอายุ 15 – 25 ปี
  2. สมัครประเภทเดี่ยวและทีม 1 – 3 คน
  3. ไม่จำกัดสาขาวิชาชีพ
  4. *สัญชาติไทยเท่านั้น*

หัวข้อที่เปิดรับสมัคร

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถส่งไอเดียของโครงการที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารในเรื่องโทษของบุหรี่ไฟฟ้า การสร้างความเข้าใจหรือการให้ความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ไฟฟ้า การให้ความรู้ด้านสุขภาวะหรือรณรงค์เรื่องบุหรี่ไฟฟ้าให้กับกลุ่มเด็กมัธยม ภายใต้หัวข้อ Design Hero : OK ( E ) CIGARETTES ? Wake Up and Understand the Hazards of Vaping and E – Cigarettes ซึ่งผลงานที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับทุนสนับสนุนเพื่อร่วมผลิตผลงานกับแบรนด์สินค้าจริง โดยผู้ส่งโครงการเข้าประกวดสามารถเลือกประเภทของของผลงาน ได้ดังต่อไปนี้ (เลือกได้ 1 หัวข้อ)
  1. ประเภท Graphic Design โดยร่วมผลิตผลงานจริงกับแบรนด์ Q Design & Play
  2. ประเภทผลงานศิลปะหรือของตกแต่ง โดยร่วมผลิตผลงานจริงกับแบรนด์ WISHULADA
  3. ประเภท Art Toy โดยร่วมผลิตผลงานจริงกับแบรนด์ TOYLAXY
  4. ประเภทคลิปวิดิโอ โดยร่วมผลิตผลงานเพื่อเผยแพร่จริงจริงกับช่อง Biggy Carey

ข้อกำหนดในการส่งผลงาน

ส่งผลงานได้ประเภทละ 1 ผลงาน โดยส่งเป็น เพลทผลงาน ขนาด A3 ในรูปแบบไฟล์ pdf จำนวนไม่เกิน 15 หน้า (ไม่จำกัดรูปแบบ) พร้อมกับ คลิปแนะนำตัวสั้น ๆ 3 – 5 นาที แนะนำตนเอง หน้าที่ของตนเองในทีม สิ่งที่ตนเองถนัด ประสบการณ์และจุดแข็งของทีมที่ช่วยนำพาให้ผลงานมีความโดดเด่น และแตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ พร้อมนำเสนอสิ่งที่ทีมอยากเรียนรู้เพิ่มเติมจากการเข้าร่วมอบรม *ผลงานที่ส่งประกวดครั้งนี้ ต้องไม่เคยเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดอื่น หรือเป็นผลงานลอกเลียนแบบ*

ข้อกำหนดของแต่ละประเภท มีดังต่อไปนี้
  1. ประเภท Graphic Design โดยร่วมผลิตผลงานจริงกับแบรนด์ Q Design & Play
    • ให้ผู้สมัครเลือกคำ 1 คำ (ได้ทั้งไทยและอังกฤษ) ที่แสดงความเป็นตัวเอง และออกแบบคำ (Typographic) ด้วยเทคนิคใดก็ได้ สามารถวาดใน Tablet เช่น Ipad หรือ วาดมือบนกระดาษ และลงสีที่เข้ากับคำที่ออกแบบไว้ (สามารถลง element ต่าง ๆ ร่วมกับคำที่ออกแบบได้)
    • สร้างภาพ mood board ที่แสดงความเป็นตัวเอง จำนวน 1 รูป
    • แบบร่างผลงาน พร้อมคำอธิบายแนวคิด
    • ผลงานต้องสามารถผลิตได้จริงภายใต้งบประมาณ 50,000 บาท
    • คลิปแนะนำตัวสั้นๆ 3 – 5 นาที แนะนำตนเอง หน้าที่ของตนเองในทีม สิ่งที่ตนเองถนัด ประสบการณ์และจุดแข็งของทีมที่ช่วยนำพาให้ผลงานมีความโดดเด่น และแตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ พร้อมนำเสนอสิ่งที่ทีมอยากเรียนรู้เพิ่มเติมจากการเข้าร่วมอบรม
  2. ประเภทผลงานศิลปะหรือของตกแต่ง โดยร่วมผลิตผลงานจริงกับแบรนด์ WISHULADA
    • เป็นผลงานศิลปะ หรือ สินค้าไลฟ์สไตล์ อาทิ ของตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ โคมไฟ ฯลฯ
    • ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ วัสดุธรรมชาติ หรือ วัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานไม่น้อยกว่า 50%
    • สามารถออกแบบเป็นชิ้นงานลักษณะเป็นชุดหลายๆ ชิ้นได้
    • ผลงานสามารถตั้งพื้น ติดผนัง หรือห้อยจากเพดาน
    • สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย มีความทนทาน เช่น ถอดประกอบได้
    • ผลงานต้องสามารถผลิตได้จริงภายใต้งบประมาณ 50,000 บาท (ราคาดังกล่าวรวมการขนส่งและติดตั้ง ณ พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร หรือปริมณฑล 1 รอบ)
    • แบบร่างผลงานพร้อมคำอธิบายถึงแรงบันดาลใจ แนวคิด วัสดุที่ใช้ แหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ และระบุข้อมูลการใช้จ่าย (แบบประมาณการ) ภายใต้งบประมาณตามที่โครงการกำหนด
    • คลิปแนะนำตัวสั้น ๆ 3 – 5 นาที แนะนำตนเอง หน้าที่ของตนเองในทีม สิ่งที่ตนเองถนัด ประสบการณ์และจุดแข็งของทีมที่ช่วยนำพาให้ผลงานมีความโดดเด่น และแตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ พร้อมนำเสนอสิ่งที่ทีมอยากเรียนรู้เพิ่มเติมจากการเข้าร่วมอบรม
  3. ประเภท Art Toy โดยร่วมผลิตผลงานจริงกับแบรนด์ TOYLAXY
    • Final Product สามารถเป็นผลงานได้ทั้ง Art Toy, Figure หรือ Model Figure
    • Mood board ของไอเดียที่ส่งผลงาน
    • แบบร่างผลงาน พร้อมคำอธิบายแนวคิด
    • ผลงานต้องสามารถผลิตได้จริงภายใต้งบประมาณ 50,000 บาท
    • ระบุความรู้พื้นฐานในการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง เช่น ZBrush, Blender, MAYA, Nomad sculpt หรือ โปรแกรมขึ้น 3D อื่น ๆ
    • ส่ง Portfolio ผลงานที่เคยทำ (ถ้ามี)
    • คลิปแนะนำตัวสั้น ๆ 3 – 5 นาที แนะนำตนเอง หน้าที่ของตนเองในทีม สิ่งที่ตนเองถนัด ประสบการณ์และจุดแข็งของทีมที่ช่วยนำพาให้ผลงานมีความโดดเด่น และแตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ พร้อมนำเสนอสิ่งที่ทีมอยากเรียนรู้เพิ่มเติมจากการเข้าร่วมอบรม
  4. ประเภทคลิปวิดิโอ โดยร่วมผลิตผลงานเพื่อเผยแพร่จริงจริงกับช่อง Biggy Carey
    • คำอธิบายแนวคิดของเรื่องที่ต้องการจะสื่อสาร
    • Story line (เรื่องย่อ)
    • แบบร่าง Story board ตามความเหมาะสม
    • คลิปแนะนำตัวสั้น ๆ 3 – 5 นาที แนะนำตนเอง หน้าที่ของตนเองในทีม สิ่งที่ตนเองถนัด ประสบการณ์และจุดแข็งของทีมที่ช่วยนำพาให้ผลงานมีความโดดเด่น และแตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ พร้อมนำเสนอสิ่งที่ทีมอยากเรียนรู้เพิ่มเติมจากการเข้าร่วมอบรม
    • ส่ง link ผลงานคลิปสั้นหรือยาวที่เคยทำ ไม่เกิน 3 คลิป (ถ้ามี)

รายละเอียดกิจกรรมและกำหนดการ

  1. ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการทุกท่าน ต้องเข้าไปชมคลิปวิดิโอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ https://youtu.be/PIN_nkLcWTI?si=r92N4ED3VqiD8f00 เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ
  2. หลังจากรับชมคลิปวิดิโอแล้ว สามารถเลือกส่งผลงานแต่ละประเภทได้ตามรายละเอียดใน ข้อกำหนดในการส่งผลงาน
  3. โครงการเปิดรับสมัครให้ส่งผลงานได้ตั้งแต่ วันที่ 15 กรกฎาคม จนถึง 27 กันยายน 2567
  4. ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก จะต้องสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการบ่มเพาะและเวิร์คช็อปกับผู้เชี่ยวชาญ พี่เลี้ยง ในแต่ละด้านได้ ในช่วงวันที่ 21 – 23 ตุลาคม 2567
  5. ทางโครงการจะดำเนินการคัดเลือกผู้ที่ได้รับทุนเพื่อนำไปพัฒนาผลงาน จำนวน หมวดละ 3 ผลงาน รวมทั้งหมด 12 ผลงาน โดยแต่ละทีมจะได้รับทุน ผลงานละ 50,000 บาท *ผลการพิจารณาของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด*
  6. ผลงานที่ได้รับทุนจะได้เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการเพื่อแสดงผลงานต่อสาธารณะ ในช่วงระหว่างเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2568 พร้อมพิธีการประกาศผลและมอบรางวัลถ้วยพระราชทานฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนเพื่อการพัฒนาและการต่อยอดผลงาน

**รายละเอียดกำหนดการโครงการฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ทั้งนี้ผู้จัดจะมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทุกครั้ง

เกณฑ์ในการพิจารณา

  1. กระบวนการคิดเชิงออกแบบ : Design Thinking
    • เป็นการทำให้มองเห็นวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมไปถึงการมองปัญหาตลอดจนโจทย์ของการทำงานต่าง ๆ ได้รอบทิศและรอบคอบขึ้นและฝึกให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีลำดับการบริหารจัดการที่ดีตั้งแต่เริ่มโครงการไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
  2. การสื่อสาร : Communication
    • การสื่อสารเป็นกระบวนการสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่นตลอดจนถึงสังคมวงกว้าง การสื่อสารที่ดีจะต้องมีความชัดเจน ตรงโจทย์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและบรรลุจุดประสงค์ของโครงการ การขับเคลื่อนโครงการให้ประสบความสำเร็จได้จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการการสื่อสารให้ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  3. ความเป็นไปได้ในการผลิต : Production Feasibility
    • คือ การประเมินองค์ประกอบของผลงานในแง่ความเป็นจริงของการผลิต โดยทั้งเจ้าของผลงาน คณะกรรมการและเจ้าของแบรนด์ ต้องสามารถเข้าใจถึงขั้นตอนการผลิตที่ระบุมาในโครงการได้อย่างตรงประเด็นและเห็นว่านำไปใช้งานได้จริง ซึ่งจะทำให้คณะกรรมการสามารถเห็นภาพรวมของโครงการเพื่อที่จะช่วยปรับจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็ง รวมไปถึงการปรับรายละเอียดในเชิงเทคนิคสำหรับการผลิตเพื่อช่วยผลักดันให้โครงการได้มีการพัฒนาต่อยอดจนสำเร็จลุล่วง
  4. ความงาม/สุนทรียภาพ : Aesthetic
    • คือ การประเมินความสวยงามที่ลงตัวของผลงานแบบองค์รวม ซึ่งอาจจะประกอบด้วยเรื่องของ รูปทรง สี ความไพเราะของเสียง ความงดงามของท่าทางการเคลื่อนไหว หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยขึ้นกับประเภทของผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวด

ส่งผลงานเข้าประกวดได้ที่

ส่งผลงานเข้าประกวดได้ที่ https://docs.google.com/forms

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  • ผู้ประสานงาน : นายดุสิต บุตตะโยธี, นางสาวปราง ปิงเมืองเหล็ก และนายอาทิตย์ กมุลทะรา
  • โทรศัพท์ : 064 604 2891, 062 449 6651 และ 064 043 4186
  • อีเมลล์ : dusit.art4d@gmail.com, prangp@hotmail.com และ athitkamultara@gmail.com

คลิปวิดิโอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ

อ้างอิงจาก

〵(^ o ^)〴