การแข่งขันนวัตกรรม Chula Intania Innovation Contest 2024 (CUIIC2024) 

เปิดรับสมัครถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 23.59 น.

Days
Hours
Minutes
Seconds
กิจกรรมปิดรับสมัครแล้ว
Chula Intania Innovation Contest 2024

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญน้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เข้าร่วมการแข่งขัน “ Chula Intania Innovation Contest 2024 (CUIIC 2024) “ ภายใต้หัวข้อ Innovation towards Sustainability ชิงโล่รางวัลและเกียรติบัตร

คุณสมบัติของผู้ส่งผลงาน

เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 หรือเทียบเท่า (อาชีวศึกษา) ที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศไทย ทั้งจากโรงเรียนรัฐบาลเอกชน และโรงเรียนนานาชาติ ไม่จำกัดสัญชาติ

กำหนดระยะเวลา

สมัครเข้าร่วมวันนี้ – 15 กุมภาพันธ์ 2567 ภายในเวลา 23:59 น.

หัวข้อการแข่งขันนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 5 สาขา ดังนี้

  1. สาขาไฟฟ้าและพลังงาน หมายถึง การศึกษาโดยประยุกต์ใช้หลักการทางวิศวกรรมและเทคนิคทางฟิสิกส์ เคมีและวัสดุศาสตร์เพื่อการพัฒนาวิธีการหรือต้นแบบ และออกแบบกระบวนการที ่เกี่ยวข้องกับการผลิต กักเก็บ และขนส่งพลังงานหมุนเวียนที่ได้จากทรัพยากชีวภาพ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานหรือแปรเปลี่ยนรูปแบบเป็นพลังงานสะอาดและการศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. สาขาคอมพิวเตอร์หมายถึง การศึกษาและพัฒนาซอฟต์แวร์การศึกษากระบวนการของข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) หรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อสาธิต วิเคราะห์ หรือควบคุมกระบวนการ/วิธีการแก้ไขปัญหา หรือการศึกษาและพัฒนาที่มีการประมวลผลโดยใช้ไมโครโพรเซสเซอร์หรือไมโครคอนโทรลเลอร์และการศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการศึกษาและพัฒนาที่มีการใช้เครื่องจักรและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) เป็นสำคัญ เพื่อช่วยผ่อนแรงหรือลดการพึ่งพาของมนุษย์
  3. สาขาโครงสร้างและวัสดุหมายถึง การศึกษากระบวนการการออกแบบหรือพัฒนาต้นแบบโครงสร้างของระบบสาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้างต่าง ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อพัฒนาการขนส่งที่รวดเร็ว ปลอดภัย หรือมีปริมาณมากขึ้น หรือการศึกษาคุณสมบัติทางเคมี-กายภาพ พื้นผิวโครงสร้าง ตลอดจนการออกแบบหรือพัฒนาวิธีการ/ต้นแบบวัสดุให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่นอกเหนือจากสมบัติพื้นฐาน ของวัสดุนั้น และการศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  4. สาขาเคมีหมายถึง การศึกษา ปรับปรุง และพัฒนาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับสสารและปฏิกิริยา การพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบของสารที่สนใจทั้งเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ การศึกษาในระดับโมเลกุลที่สามารถสังเกตได้ในชีวิตประจำวัน การเตรียมและสังเคราะห์สารประกอบชนิดต่าง ๆ การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีออกแบบระบบจำลองทางเคมีเพื่อแก้ไขปัญหาตามสมมติฐานหรือทางวิศวกรรม การออกแบบวิธีการขนส่งสารเคมีผ่านการประยุกต์เรื่องปฏิกิริยาเคมีรวมทั้งระบบการจัดการและเก็บสารเคมีและการศึกษาพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  5. สาขาสิ่งแวดล้อม หมายถึง การศึกษาโดยประยุกต์ใช้หลักการทางวิศวกรรม เพื่อการออกแบบ การสร้างแบบจำลองการพัฒนาวิธีการ/ต้นแบบส าห รับการจัดการการใช้ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีประสิทธิผลมากขึ้น รวมถึงการป้องกัน แก้ไข หรือควบคุมมลพิษทางอากาศ นำ้ และขยะมูลฝอย ด้วยวิธีการต่าง ๆ และการศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับส่งเข้าประกวด

  1. โครงร่างนวัตกรรม (Proposal) ประกอบไปด้วย ชื่อผลงาน,บทคัดย่อ และข้อมูลเชิงนวัตกรรมและความยั่งยืนชนิดและขนาดของตัวอักษรให้ใช้ TH Sarabun New ขนาด 12 โดยมีรายละเอียดไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 จัดทำเป็นไฟล์ .pdf นักเรียนสามารถเลือกส่งโครงร่างนวัตกรรมได้ทั้งแบบภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเพียงอย ่างเดียว สามารถดาวน์โหลดรูปแบบเอกสารได้ที่ Template โครงร่างนวัตกรรม
  2. หนังสือรับรองจากสถานศึกษา พร้อมให้ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้มีอำนาจแทนผู้อำนวยการลงลายมือชื่อรับรอง สามารถดาวน์โหลดรูปแบบเอกสารได้ที่ คำรับรองสถานศึกษา
  3. หนังสือยินยอมให้บันทึกภาพและเสียงและเผยแพร่ข้อมูล สถานศึกษารวบรวมเอกสารของนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษาทุกคนนำส่งเป็นไฟล์เดียว (สำหรับบุคคลที่มีอายุเกิน 10 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยอมและลงลายมือชื่อจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม) สามารถดาวน์โหลดรูปแบบเอกสารได้ที่ หนังสือยินยอมให้บันทึกภาพและเสียง และเผยแพร่ข้อมูล

หมายเหตุ: เอกสารทั้งหมดจัดทำเป็นไฟล์นามสกุล .pdf ขนาดไฟล์ไม่เกิน 10 MB

เงื่อนไขการส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือก

  1. กำหนดให้ทุกสถานศึกษาสามารถส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขันได้ในแต่ละสาขา สาขาละไม่เกิน 3 ผลงาน โดยหากมีการส่งผลงานในสาขาเกินจำนวนที่กำหนดไว้ คณะกรรมการจะตัดสิทธิ์การแข่งขันของทุกผลงานในสาขา
  2. สมัครเป็นผลงาน ผลงานละ 1-3 คน โดยแต่ละผลงานต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน และอาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ (ถ้ามี) เพิ่มได้อีก 1 ท่าน โดยสมาชิกทุกคนและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องมาจากสถานศึกษาเดียวกัน นอกจากนี้อาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่านสามารถเป็นที่ปรึกษาได้หลายผลงาน
  3. นักเรียนแต่ละคนสามารถเลือกส่งได้เพียง 1 ผลงานเท่านั้น และเลือกส่งผลงานนวัตกรรมได้เพียงผลงานละหนึ่งสาขา
  4. ผลงานที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขันต้องไม่ลอกเลียนแบบหรือนำเอาผลงานจากการศึกษาหรือการดำเนินการของตนเอง และผู้อื่นมาส่งเข้าประกวด หากนำความคิดหรือผลงานตนเองมาดำเนินการจะต้องต่อยอดจากผลงานเดิมมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์
  5. ผลงานที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขันต้องไม่เคยได้รับรางวัลใดๆ จากการประกวดทั้งในระดับชาติหรือนานาชาติมาก่อน หากพบว่าผลงานได้รับรางวัลมาก่อนนี้ คณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสิทธิ์การแข่งขันและยึดรางวัลคืน
  6. จังหวัดของสถานศึกษาให้อ้างอิงตามระบบการจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาการปกครองที่จัดแบ่งโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
  7. ภูมิภาคของสถานศึกษาแบ่งโดยใช้หลักเกณฑ์ ดังนี้
    • ภาคเหนือ: กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย และอุตรดิตถ์
    • ภาคตะวันตก: กาญจนบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ราชบุรี และสุพรรณบุรี
    • ภาคกลางและภาคตะวันออก: กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง ลพบุรี สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และอุทัยธานี
    •  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กาฬสินธุ์ นครพนม มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ เลย สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี
    • ภาคใต้: กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี
  8. จัดทำเอกสารประกอบด้วยโครงร่างนวัตกรรม หนังสือรับรองจากสถานศึกษา และหนังสือยินยอมให้บันทึกภาพและเสียงและเผยแพร่ข้อมูลของนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษาทุกคน เอกสารทั้งหมดจัดทำเป็นไฟล์นามสกุล .pdf ขนาดไฟล์ไม่เกิน 10 MB (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับส่งเข้าประกวด )
  9. สถานศึกษารวบรวมผลงานของนักเรียนทุกสาขาและส่งผลงานผ่านทาง Google Forms ตามลิงก์ : https://forms.gle/Jm2cHkuwVD7y5eAz7
หมายเหตุ: ขอความกรุณาสถานศึกษา upload ข้อมูลเพียง 1 ครั้งเท่านั้น และโปรด upload โครงร่างนวัตกรรมตามลำดับที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองของสถานศึกษา ทั้งนี้ลำดับในการกรอกไม่มีผลต่อการพิจารณาเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ

รางวัลการประกวดของแต่ละสาขา

  • รางวัลชนะเลิศ: โล่รางวัลและเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1: โล่รางวัลและเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 2: โล่รางวัลและเกียรติบัตร
  • รางวัลชมเชย: 5 รางวัลและเกียรติบัตร

รางวัลพิเศษของการแข่งขัน

  • Best impact 1 รางวัล: โล่รางวัลและเกียรติบัตร
  • Best business 1 รางวัล: โล่รางวัลและเกียรติบัตร

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

หมายเหตุ

  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดต้องไม่สื่อความหมายและไม่มีลักษณะที่ต้องห้ามตามกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นการดูหมิ่น เสียดสีหรือก่อให้เกิดความแตกแยกทางสังคม ไม่มีนัยทางการเมือง ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • ผู้สมัครหรือผลงานที่ไม่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ จะไม่มีสิทธิ์ได้รับรางวัล
  • เมื่อส่งเอกสารการสมัครแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนตัวสมาชิกในทีม
  • การตัดสินของคณะกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด

อ้างอิงจาก

〵(^ o ^)〴