ประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๙

ประกวด ศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 19

เด็กและเยาวชน ถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลสําคัญของชาติในอนาคต ที่จะรับผิดชอบและนําพาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้าในทุกด้าน การปลูกฝัง สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ รักและหวงแหน เห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมของชาติ จึงมีความจําเป็น ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ต้องส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีขบวนการคิดในเชิงสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ พัฒนาทักษะด้านการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปกรรมที่มีคุณค่า สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองและประเทศชาติต่อไป โครงการประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติเป็นโครงการ ที่สนับสนุนการสร้างผลงานศิลปกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนทุกระดับได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนของชาติได้ตระหนัก และเห็นคุณค่าในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมอย่างตลอดไป

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดให้มีการประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานการประกวดศิลปกรรมซึ่งเป็นการวางรากฐานที่ดีของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนของชาติได้ซาบซึ้งและตระหนักในคุณค่าของผลงานศิลปอย่างยั่งยืน โดยมีหลักเกณฑ์การประกวดดังนี้

หัวข้อการประกวด

“วิถีไทยในอนาคต”

ข้อกําหนดของผลงานที่ส่งเข้าประกวด

ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานสร้างสรรค์ตามหัวข้อที่กําหนด เป็นผลงานใหม่ที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยฝีมือและความคิด ของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเอง ไม่ลอกเลียนหรือดัดแปลงผลงานของผู้อื่น มีกระบวนการคิดและเทคนิคอิสระ ซึ่งรูปแบบและแนวความคิด ต้องไม่ขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ และผลงานนั้นต้องไม่เคยได้รับรางวัล ส่งประกวด นําออกแสดง ตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ในสื่อใดๆ มาก่อน

ประเภทผลงานที่ส่งเข้าประกวด

  1. จิตรกรรม (Painting) เป็นผลงานที่ใช้เทคนิคสีน้ํา สีน้ํามัน สีอะคริลิค สีดินสอ สีเทียน ฯลฯ
  2. ประติมากรรม (Sculpture) เป็นผลงานที่ใช้เทคนิคการปั้น การหล่อ การเชื่อม การแกะสลัก ฯลฯ
  3. ภาพพิมพ์ (Printmaking) เป็นผลงานที่ใช้เทคนิคการพิมพ์ เช่น แม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์ซิลค์สกรีน ฯลฯ
  4. สื่อผสม (Mixed media) เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สื่อวัสดุและการผสมผสานเทคนิคต่างๆ ทางศิลปะ
  5. วาดเส้น (Drawing) เป็นผลงานที่เกิดจากเทคนิคการเขียนภาพด้วยวัสดุต่างๆ

ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวด และขนาดผลงานศิลปกรรม

  1. ระดับอายุ 6 – 9 ปี
    • ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 2 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว) ด้านละไม่เกิน 60 เซนติเมตร (ไม่รวมกรอบ) และผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 3 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน 60 เซนติเมตร (ไม่รวมแท่นฐาน)
  2. ระดับอายุ 10 – 13 ปี
    • ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 2 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว) ด้านละไม่เกิน 80 เซนติเมตร (ไม่รวมกรอบ) และผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 3 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน 80 เซนติเมตร (ไม่รวมแท่นฐาน)
  3. ระดับอายุ 14 – 17 ปี
  4. ระดับอายุ 18 – 21 ปี
    • ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 2 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว) ด้านละไม่เกิน 120 เซนติเมตร (ไม่รวมกรอบ) และผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 3 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน 120 เซนติเมตร (ไม่รวมแท่นฐาน)

หมายเหตุ: การนับอายุของผู้ส่งผลงานแต่ละระดับ นับถึงวันสุดท้ายของการส่งผลงานเข้าประกวด

การส่งผลงานเข้าประกวด

  1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องมีผู้รับรองผลงาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์ ครูผู้สอนในสถานศึกษา ผู้สอนเด็กด้อยโอกาส หัวหน้าเขตการปกครองส่วนท้องถิ่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อ – แม่ หรือผู้ปกครอง โดยผู้รับรองผลงานต้องแจ้งที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
  2. ผู้ส่งผลงานต้องกรอกข้อมูลในใบสมัครตามแบบฟอร์มในระบบออนไลน์ http://artcontest.bpi.ac.th/พร้อมภาพถ่ายผลงาน บันทึกเป็นไฟล์ JPEG ขนาดไม่เกิน 2 MB (กรณีผลงาน 3 มิติ ให้แนบภาพถ่ายอย่างน้อย 2 ด้าน มากับผลงานด้วย) ตามวันเวลาที่กําหนด
  3. ผู้ส่งผลงานต้องพิมพ์ใบสมัครแบบฟอร์มที่ลงทะเบียนออนไลน์เรียบร้อยแล้ว พร้อมแนบสําเนาบัตรประชาชนหรือสูติบัตร มิฉะนั้นสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จะไม่รับผลงาน
  4. ส่งผลงานได้ไม่เกินคนละ 2 ชิ้น
  5. จัดส่งด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นส่งแทน การมอบฉันทะให้ให้ผู้อื่นมาส่งแทน กรุณาเตรียมเอกสารดังนี้
    • สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ พร้อมลงนามสําเนารับรองสําเนาถูกต้อง
    • ใบมอบฉันทะ
  6. การส่งผลงานทางไปรษณีย์จะถือตราประทับวันที่ส่งผลงานทางไปรษณีย์เป็นสําคัญ ทั้งนี้ระดับอายุ 6 – 9 ปี และระดับอายุ 10 – 13 ปี ต้องไม่เกินวันที่ 6 พฤษภาคม 2567 ระดับอายุ 14 – 17 ปี ระดับอายุ 18 – 21 ปี ต้องไม่เกินวันที่ 13 พฤษภาคม 2567(กรณีที่ส่งทางไปรษณีย์ให้ส่งที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เลขที่ 2 แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 เพียงแห่งเดียวเท่านั้น)
  7. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องมีแนวความคิดทุกชิ้น โดยพิมพ์แล้วติดด้านหลังผลงานทุกชิ้น
  8. การนําส่งผลงาน ต้องมีการบรรจุด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันความเสียหายระหว่างการขนส่ง

การตัดสินการประกวด

คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน แยกตามระดับอายุ และผลการตัดสินถือว่าเป็นที่สุดจะอุทธรณ์มิได้

รางวัลการประกวด

  1. ระดับอายุ 6 – 9 ปี
    • รางวัลศิลปกรรมยอดเยี่ยม มี 1 รางวัล เงินรางวัล 10,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัล 8,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 2 มี 3 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 6,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 3 มี 10 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 4,000 บาท
  2. ระดับอายุ 10 – 13 ปี
    • รางวัลศิลปกรรมยอดเยี่ยม มี 1 รางวัล เงินรางวัล 20,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัล 15,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 2 มี 3 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 8,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 3 มี 10 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 6,000 บาท
  3. ระดับอายุ 14 – 17 ปี
    • รางวัลศิลปกรรมยอดเยี่ยม มี 1 รางวัล เงินรางวัล 30,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัล 15,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 2 มี 3 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 10,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 3 มี 10 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 8,000 บาท
  4. ระดับอายุ 18 – 21 ปี
    • รางวัลศิลปกรรมยอดเยี่ยม มี 1 รางวัล เงินรางวัล 40,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัล 20,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 2 มี 3 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 12,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 3 มี 10 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 10,000 บาท

หมายเหตุ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์จะมอบเกียรติบัตรให้แก่สถานศึกษา และผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดงผลงาน

สิทธิพิเศษสําหรับผู้ได้รับรางวัลและได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดง

จะได้รับสิทธิเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือกในการเข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรี โดยติดต่อที่วิทยาลัยช่างศิลป์ (ลาดกระบัง) วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช และคณะศิลปวิจิตร (ศาลายา)

กําหนดเวลาลงทะเบียนรับสมัครและส่งผลงาน

  1. ระดับอายุ 6 -9 ปี ลงทะเบียนสมัครบนเว็บไซต์ http://artcontest.bpi.ac.th/ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2567
  2. ระดับอายุ 10 – 13 ปี ลงทะเบียนสมัครบนเว็บไซต์ http://artcontest.bpi.ac.th/ ระหว่างวันที่ 2 – 3 พฤษภาคม 2567
    ระดับอายุ 6 – 9 ปี และระดับอายุ 10 – 13 ปี ส่งผลงานจริงได้ระหว่างวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม 2567 (เวลา 09.00 – 16.00 น.)

  3. ระดับอายุ 14- 17 ปี ลงทะเบียนสมัครบนเว็บไซต์ http://artcontest.bpi.ac.th/ ระหว่างวันที่ 7 – 8 พฤษภาคม 2567
  4. ระดับอายุ 18 – 21 ปี ลงทะเบียนสมัครบนเว็บไซต์ http://artcontest.bpi.ac.th/ ระหว่างวันที่ 9 – 10 พฤษภาคม 2567
    ระดับอายุ 14 – 17 ปี ระดับอายุ 18 – 21 ปี ส่งผลงานจริงได้ระหว่างวันที่ 11 – 13 พฤษภาคม 2567 (เวลา 09.00 – 16.00 น.)
หมายเหตุ: จะไม่รับพิจารณาผลงานที่ส่งเกินกําหนดเวลา

คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินผลงาน

  1. นายธงชัย รักปทุม ศิลปินแห่งชาติ
  2. ศาสตราจารย์เดชา วราชุน ศิลปินแห่งชาติ
  3. นายสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ
  4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณปริญญา ตันติสุข ศิลปินแห่งชาติ
  5. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทัศนศิลป์
  6. ศาสตราจารย์เกียรติคุณวิบูลย์ ลี้สุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทัศนศิลป์
  7. ศาสตราจารย์เกียรติคุณญาณวิทย์ กุญแจทอง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  8. ศาสตราจารย์กมล เผ่าสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทัศนศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  9. นายสังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร
  10. นายวีรเดช พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทัศนศิลป์
  11. นายกมล สุวุฒโฑ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทัศนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  12. นายสาคร โสภา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทัศนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  13. รองศาสตราจารย์สรรณรงค์ สิงหเสนี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทัศนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  14. รองศาสตราจารย์ศุภชัย สุกโชติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทัศนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  15. รองศาสตราจารย์เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  
  16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัฐ บุญทรง ผู้อํานวยการวิทยาลัยเพาะช่าง
  17. นายจรัญ หนองบัว ผู้อํานวยการวิทยาลัยช่างศิลป
  18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อํานวย นวลอนงค์ รองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญพาด ฆังคะมะโน คณบดีคณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ตัดสินผลงานและการประกาศผล

  1. ตัดสินผลงาน ระหว่างวันที่ 1 – 2 มิถุนายน 2567
  2. การประกาศผลการตัดสิน วันที่ 10 มิถุนายน 2567
  3. การจัดแสดงนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ในเดือนกรกฎาคม 2567

กรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์

ผลงานศิลปกรรมที่ได้รับรางวัลถือเป็นสมบัติของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม และผลงานศิลปกรรมทุกชิ้นที่ส่ง เข้าประกวดในครั้งนี้ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ในสูจิบัตรและเอกสารสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสารสนเทศทุกประเภท

สถานที่ส่งผลงาน และรับคืนผลงานได้ตามสถานที่ดังนี้

หอศิลป์วังหน้า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เลขที่ 2 แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200  โทรศัพท์ 02-221-8257 http://artcontest.bpi.ac.th/

การส่งและรับผลงานคืน

ผลงานที่ไม่ได้รับรางวัลและผลงานที่ได้รับเข้าร่วมแสดงสามารถรับผลงานคืน ณ สถานที่ๆส่งผลงาน ตั้งแต่วันที่ 19 – 30 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยรับผลงานคืนด้วยตนเองหรือมอบผู้รับแทน หากไม่มี เจ้าของมารับผลงานคืนภายในวันและเวลาที่กําหนด ให้ถือว่าเจ้าของผลงานยินดีสละสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในผลงานชิ้นนั้น ซึ่งทางสถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์จะพิจารณาดําเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป

ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องรับผลงานด้วยตนเองตามวันและเวลาที่กําหนด หากพ้นเวลาที่กําหนดทางสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จะไม่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น (กรณีมอบผู้รับผลงานแทนให้แสดง ใบมอบฉันทะในสําเนาบัตรประชาชน) โดยรับผลงานคืนได้ที่ส่งผลงาน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

อ้างอิงจาก

〵(^ o ^)〴