ส่งผลงานจริงระหว่างวันที่ 6 – 8 พฤษภาคม 2568 (เวลา 09.00 – 16.00 น.)

ความเป็นมาโครงการ
เด็กและเยาวชนถือว่าเป็นทรัพยากรบุคลที่สำคัญของประเทศ เป็นอนาคตและเป็นความหวังของสังคมไทย ในการสร้างเด็กและเยาวชนให้เติบโตขึ้นด้วยความพร้อม ได้รับการหล่อหลอม มีการปลูกฝังในสิ่งที่ดีและมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ จะช่วยส่งเสริมให้สังคมไทยมีพลเมืองที่มีคุณภาพ ช่วยขับเคลื่อนสังคมอย่างมีคุณภาพต่อไปในอนาคต การปลูกฝัง สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ รักและหวงแหน เห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมของชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ จึงมีความจำเป็นจะต้องส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีขบวนการคิดในเชิงสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ พัฒนาทักษะด้านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมที่มีคุณค่า สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองและประเทศชาติต่อไป โครงการประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ เป็นการส่งเสริม สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนของชาติได้สร้างผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรมที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่องตลอดไป
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดให้มีการประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานการประกวดศิลปกรรม ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่ดีของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนของชาติได้ซาบซึ้งและตระหนักในคุณค่าของผลงานศิลปะอย่างยั่งยืน โดยมีหลักเกณฑ์การประกวดดังนี้
หัวข้อการประกวด
“เอกลักษณ์ไทย”
ข้อกําหนดของผลงานที่ส่งเข้าประกวด
ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานสร้างสรรค์ตามหัวข้อที่กําหนด เป็นผลงานใหม่ที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยฝีมือและความคิดของผู้ส่ง ผลงานเข้าประกวดเอง ไม่ลอกเลียนหรือดัดแปลงผลงานของผู้อื่น มีกระบวนการคิดและเทคนิคอิสระ ซึ่งรูปแบบและแนวความคิดต้องไม่ขัดต่อ ศีลธรรม จริยธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ และผลงานนั้นต้องไม่เคยได้รับรางวัล ส่งประกวด นําออกแสดง ตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ในสื่อใดๆ มาก่อน กรณีพบว่าไม่เป็นไปตามข้อกําหนด คณะกรรมการอาจใช้สิทธิ์งดเว้นการพิจารณา
ประเภทผลงานที่ส่งเข้าประกวด
- จิตรกรรม (Painting) เป็นผลงานที่ใช้เทคนิคสีน้ํา สีน้ํามัน สีอะคริลิค สีดินสอ สีเทียน ฯลฯ
- ประติมากรรม (Sculpture) เป็นผลงานที่ใช้เทคนิคการปั้น การหล่อ การเชื่อม การแกะสลัก ฯลฯ
- ภาพพิมพ์ (Printmaking) เป็นผลงานที่ใช้เทคนิคการพิมพ์ เช่น แม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์ซิลค์สกรีน ฯลฯ
- สื่อผสม (Mixed media) เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สื่อวัสดุและการผสมผสานเทคนิคต่างๆ ทางศิลปะ
- วาดเส้น (Drawing) เป็นผลงานที่เกิดจากเทคนิคการเขียนภาพด้วยวัสดุต่างๆ
ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวด และขนาดผลงานศิลปกรรม
- ระดับอายุ 6 – 9 ปี
- ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 2 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว) ด้านละไม่เกิน 60 เซนติเมตร (ไม่รวมกรอบ)
- ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 3 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน 60 เซนติเมตร (ไม่รวมแท่นฐาน)
- ระดับอายุ 10 – 13 ปี
- ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 2 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว) ด้านละไม่เกิน 80 เซนติเมตร (ไม่รวมกรอบ)
- ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 3 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน 80 เซนติเมตร (ไม่รวมแท่นฐาน)
- ระดับอายุ 14 – 17 ปี
- ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 2 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว) ด้านละไม่เกิน 120 เซนติเมตร (ไม่รวมกรอบ)
- ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 3 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน 120 เซนติเมตร (ไม่รวมแท่นฐาน)
- ระดับอายุ 18 – 21 ปี
- ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 2 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว) ด้านละไม่เกิน 120 เซนติเมตร (ไม่รวมกรอบ)
- ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น 3 มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน 120 เซนติเมตร (ไม่รวมแท่นฐาน)
การส่งผลงานเข้าประกวด
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องมีผู้รับรองผลงาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์ ครูผู้สอนในสถานศึกษา ผู้สอนเด็กด้อยโอกาส หัวหน้าเขตการปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อ – แม่ หรือผู้ปกครอง โดยผู้รับรองผลงานต้องแจ้งที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
- ผู้ส่งผลงานต้องกรอกข้อมูลในใบสมัครตามแบบฟอร์มในระบบออนไลน์ http://artcontest.bpi.ac.th/ พร้อมภาพถ่ายผลงานบันทึกเป็นไฟล์ JPEG ขนาดไม่เกิน 2 MB (กรณีผลงาน 3 มิติ ให้แนบภาพถ่ายอย่างน้อย 2 ด้าน มากับผลงานด้วย) ตามวันเวลาที่กำหนด
- ผู้ส่งผลงานต้องพิมพ์ใบสมัครแบบฟอร์มที่ลงทะเบียนออนไลน์เรียบร้อยแล้ว แนบมากับผลงานพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือสูติบัตร มิฉะนั้นสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จะไม่รับผลงาน
- ส่งผลงานได้ไม่เกินคนละ 2 ชิ้น
- จัดส่งด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นส่งแทน การมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาส่งแทน กรุณาเตรียมเอกสารดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- ใบมอบฉันทะ
- การส่งผลงานผ่านทางบริการขนส่งพัสดุจะถือตราประทับวันที่ส่งผลงานเป็นสำคัญ ทั้งระดับอายุ 6 – 9 ปี ระดับอายุ 10 – 13 ปี ระดับอายุ 14 – 17 ปี และ ระดับอายุ 18 – 21 ปี ต้องไม่เกินวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 โดยส่งมาที่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เลขที่ 2 ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องมีแนวความคิดทุกชิ้น โดยพิมพ์แล้วติดด้านหลังผลงานทุกชิ้น
- การนำส่งผลงาน ต้องมีการบรรจุด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันความเสียหายระหว่างการขนส่ง
หมายเหตุ: กรณีผลงานที่ใช้วัสดุกรอบกระจก หากเกิดชํารุดเสียหาย จะไม่พิจารณาหาวัสดุทดแทน
การตัดสินการประกวด
คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน แยกตามระดับอายุ และผลการตัดสินถือว่าเป็นที่สุดจะอุทธรณ์มิได้
รางวัลการประกวด
- ระดับอายุ 6 – 9 ปี
- รางวัลศิลปกรรมยอดเยี่ยม มี 1 รางวัล เงินรางวัล 10,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัล 8,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 2 มี 3 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 6,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 3 มี 10 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 4,000 บาท
- ระดับอายุ 10 – 13 ปี
- รางวัลศิลปกรรมยอดเยี่ยม มี 1 รางวัล เงินรางวัล 20,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัล 12,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 2 มี 3 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 8,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 3 มี 10 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 6,000 บาท
- ระดับอายุ 14 – 17 ปี
- รางวัลศิลปกรรมยอดเยี่ยม มี 1 รางวัล เงินรางวัล 30,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัล 15,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 2 มี 3 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 10,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 3 มี 10 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 8,000 บาท
- ระดับอายุ 18 – 21 ปี
- รางวัลศิลปกรรมยอดเยี่ยม มี 1 รางวัล เงินรางวัล 40,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัล 20,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 2 มี 3 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 12,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมอันดับ 3 มี 10 รางวัล เงินรางวัล รางวัลละ 10,000 บาท
หมายเหตุ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์จะมอบเกียรติบัตรให้แก่สถานศึกษา และผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดงผลงาน
สิทธิพิเศษสําหรับผู้ได้รับรางวัลและได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดง
- จะได้รับสิทธิเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือกในการเข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรี โดยติดต่อที่วิทยาลัยช่างศิลป์ (ลาดกระบัง) วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช และคณะศิลปวิจิตร (ศาลายา)
- กรณีผู้ที่ได้รับรางวัลและมีความประสงค์จะเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถานศึกษาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จะได้รับการยกเว้น
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร
กําหนดเวลาลงทะเบียนรับสมัครและส่งผลงาน
- การลงทะเบียนสมัครบนเว็บไซต์ ลงทะเบียนสมัครบนเว็บไซต์ http://artcontest.bpi.ac.th/ ระหว่างวันที่ 28 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2568
- การส่งผลงานจริง ส่งผลงานจริงระหว่างวันที่ 6 – 8 พฤษภาคม 2568 (เวลา 09.00 – 16.00 น.)
หมายเหตุ: จะไม่รับพิจารณาผลงานที่ส่งเกินกําหนดเวลา
คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน
- นายธงชัย รักปทุม ศิลปินแห่งชาติ
- ศาสตราจารย์เดชา วราชุน ศิลปินแห่งชาติ
- นายสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปริญญา ตันติสุข ศิลปินแห่งชาติ
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านทัศนศิลป์
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านทัศนศิลป์
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ญาณวิทย์ กุญแจทอง ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ศาสตราจารย์กมล เผ่าสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านทัศนศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นายสังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร
- นายวีรเดช พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านทัศนศิลป์
- นายกมล สุวุฒโฑ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านทัศนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
- นายสาคร โสภา ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านทัศนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
- รองศาสตราจารย์สรรณรงค์ สิงหเสนี ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านทัศนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
- รองศาสตราจารย์ศุภชัย สุกขีโชติ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านทัศนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
- รองศาสตราจารย์ ดร.เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัฐ บุญทรง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเพาะช่าง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศักดิ์ชาย บุญอินทร์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนวย นวลอนงค์ รองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญพาด ฆังคะมะโน คณบดีคณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
การตัดสินการประกวด
- ตัดสินผลงาน ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2568
- ประกาศผลการตัดสิน วันที่ 9 มิถุนายน 2568
- การจัดแสดงนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ในเดือนกรกฎาคม 2568
กรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์
ผลงานศิลปกรรมที่ได้รับรางวัลถือเป็นสมบัติของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม และผลงานศิลปกรรมทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดในครั้งนี้ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ในสูจิบัตรและเอกสารสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสารสนเทศทุกประเภท
สถานที่ส่งผลงาน และรับคืนผลงาน
- หอศิลป์วังหน้า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เลขที่ 2 แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
- โทรศัพท์ 02-221-8257
- http://artcontest.bpi.ac.th
การรับผลงานคืน
ผลงานที่ไม่ได้รับรางวัลและผลงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดง สามารถรับผลงานคืน ณ สถานที่ๆส่งผลงาน ตั้งแต่วันที่ 18 – 29 สิงหาคม 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยรับผลงานคืนด้วยตนเองหรือมอบผู้รับแทน (กรณีมอบผู้รับผลงานแทนให้แสดง ใบมอบฉันทะในสำเนาบัตรประชาชน) หากไม่มีเจ้าของมารับผลงานคืนภายในวันและเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าเจ้าของผลงานยินดีสละสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในผลงานชิ้นนั้น ซึ่งทางสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์จะพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป จะไม่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น โดยรับผลงานคืนได้ที่ส่งผลงาน
ติดต่อสอบถาม
- หอศิลป์วังหน้า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เลขที่ 2 แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
- โทรศัพท์ 02-221-8257
- http://artcontest.bpi.ac.th
อ้างอิงจาก
- Facebook : ประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
- Website : http://artcontest.bpi.ac.th