ประกวดเรื่องสั้นฉันทลักษณ์ ครั้งที่ ๖

เปิดรับผลงานถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2567 เวลา 23.59 น.

Days
Hours
Minutes
Seconds
กิจกรรมปิดรับสมัครแล้ว
ประกวดเรื่องสั้นฉันทลักษณ์ ระดับชาติประจําปี 2567

ในปี 2567 นี้ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จัดการประกวดเรื่องสั้นฉันทลักษณ์ ระดับชาติ ประจําปี 2567 โล่รางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีใจรักงานกวีนิพนธ์ ได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพออกสู่สังคมต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมสร้างสรรค์วรรณกรรมร้อยกรองกับสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
  2. เพื่อส่งเสริมการแต่งร้อยกรองอย่างถูกต้องตามรูปแบบฉันทลักษณ์และสะท้อนภาพสังคมอย่างสร้างสรรค์
  3. เพื่อดําเนินตามเจตนารมณ์อันแน่วแน่และวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

ผู้มีสิทธิ์ส่งประกวด

บุคคลทั่วไปมีสิทธิ์ส่งประกวด ยกเว้นกรรมการสมาคมและกรรมการที่ปรึกษาสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย สมัยปัจจุบัน

กติกาการประกวด

เป็นงานแต่งเรียกว่า “เรื่องสั้นฉันทลักษณ์” มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  1. เรื่องที่แต่งมีลักษณะเป็นเรื่องสั้น คือ มีองค์ประกอบที่ประกอบด้วย แนวคิดสําคัญเป็นเรื่องเดียว มีโครงเรื่องที่แสดงเรื่องราวของตัวละครเลียนแบบชีวิตจริง มีตัวละคร มีบทสนทนาของตัวละคร แสดงฉากและบรรยากาศของเรื่องสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ทั้งนี้ทุกองค์ประกอบต้องมีความสมจริง เรื่องสั้นที่ส่งเข้าประกวดต้องตั้งชื่อเรื่อง
  2. แต่งเรื่องด้วยคําประพันธ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิดหรือหลายประเภทรวมกัน และร้อยสัมผัสกันตั้งแต่ต้นจนจบ กําหนดให้ใช้คําประพันธ์ตามรูปแบบดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย คําประพันธ์ใด ๆ ที่เกิดจากคําประพันธ์ทั้ง 5 ประเภทข้างต้น เช่น ลิลิต กาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่ กวีวัจนะ ฯลฯ สามารถนํามาใช้ได้ หากจะแทรกกลอนเพลงพื้นบ้านจะต้องแสดงฉันทลักษณ์ประกอบให้เห็นชัดเจนในภาคผนวก กําหนดความยาวไม่เกิน 100 บท (การนับบทให้นับตามชนิดของคําประพันธ์นั้น ๆ) ทั้งนี้ กลอนเปล่าและคําประพันธ์รูปแบบอื่นนอกเหนือจากนี้ไม่อนุญาตให้นํามาใช้
  3. เนื้อเรื่องที่ส่งประกวด ให้เป็นเรื่องสมจริงสะท้อนภาพสังคมส่วนรวมในเชิงสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นในสังคมระหว่างปี 2565 – 2567 เป็นสําคัญ เพื่อชี้ปัญหาหรืออาจเสนอแนะทางออกของปัญหาให้แก่สังคม และเพื่อเป็นการบันทึกเรื่องราวความเป็นไปในสังคมไว้ในแผ่นดิน
  4. การส่งต้นฉบับ ให้พิมพ์ด้วยฟอนต์ TH SarabunPSK 16 พอยต์ ลงในกระดาษ A4 วางรูปแบบการพิมพ์ตามรูปแบบฉันทลักษณ์ของคําประพันธ์นั้น ๆ
  5. การส่งไฟล์ ผู้ส่งผลงานทุกคนจะต้องส่งเอกสารตามข้อ 4. โดยมีต้นฉบับพร้อมทั้งทําสําเนาเอกสารรวม 5 ชุด ส่งตามที่อยู่ท้ายประกาศนี้และจะต้องส่งไฟล์ในรูป Microsoft word และ pdf ผ่านลิงก์ google form ภายในระยะเวลาที่กําหนด โดยตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อเรื่องตามด้วยชื่อผู้ประพันธ์ เช่น ปรากฏในผุกร่อน-บุณยเสนอ ตรีวิเศษ
  6. ต้องไม่เป็นผลงานที่ลอกเลียนมาจากผลงานของผู้อื่น ไม่เป็นผลงานที่เคยส่งประกวดหรือตีพิมพ์ หรือเผยแพร่โดยสื่อใด ๆ มาก่อน
  7. หากผลงานที่ส่งประกวดละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ผู้ที่เป็นเจ้าของผลงานที่ส่งประกวดนั้นจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย หากผลงานนั้นได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัลไปแล้ว ภายหลังปรากฏว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ผู้ได้รับรางวัลนั้นจะต้องคืนรางวัลทั้งหมดแก่สมาคม
  8. ระบุชื่อผลงาน นามปากกาและชื่อ-สกุลจริงของผู้เขียนพร้อมทั้ง Email, Facebook ที่อยู่จริง ที่อยู่ตามบัตรประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ไว้ที่หน้าแรกของผลงาน แล้วให้เริ่มบทแรกในหน้าถัดไปโดยไม่ต้องใส่ชื่อ-สกุลหรือนามปากกา และข้อมูลอื่นข้างต้นไว้ที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของชิ้นงานอีก แต่จะต้องระบุชื่อเรื่องไว้ที่บรรทัดแรกของหน้ากระดาษทุกหน้า
  9. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทุกคน ให้ถือว่ายอมรับเงื่อนไขและกติกาตามประกาศนี้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
  10. ผู้เข้าประกวด 1 คน สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้เพียง 1 เรื่อง
  11. ตัวอย่างงานเขียน ลักษณะของงานเขียนที่ส่งประกวดนี้จะต้องมีบทบรรยาย พรรณนา และบทสนทนา ตามลักษณะของงานเขียนประเภท “เรื่องสั้น” มิใช่ “นิทานคํากลอน” อาจมีลักษณะดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
            อ้อยบอกกับแม่ว่า “แม่จ๋าแม่      คุณหนุ่ยแกนัดหนูไปดูหนัง
    ให้หนูไปนะคะน่ะสักครั้ง                    ไม่ลําพังหรอกเพื่อนไปเหมือนกัน”
    แม่ห้ามอ้อย “อย่าไปไม่ดีหรอก           ชาวบ้านตรอกเรานี่ทีจะหยัน
    พวกปากยาวสาวไส้ใครทั้งนั้น             จะสําคัญผิดลูกดูถูกเอา”
    (แม่ของอ้อย: สุรศักดิ์ ศรีประพันธ์ ใน รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. 2556. วรรณกรรมปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพ ฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง. (หน้า 145 – 146)
  12. ต้นฉบับที่ส่งประกวดทั้งที่เป็นเอกสารและสื่อใด ๆ จะไม่ส่งคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ
  13. การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

กําหนดส่งผลงาน/ลิขสิทธิ์ผลงาน

  • ส่งได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2567 ถือวันที่ฝากส่งจากไปรษณีย์ต้นทางเป็นสําคัญ ทั้งนี้จะต้องถึงปลายทางไม่เกินวันที่ 21 ตุลาคม 2567
  • ผลงานที่ได้รับรางวัลทุกรางวัล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ในการจัดพิมพ์ครั้งแรก ภายในระยะเวลา 3 ปี และการเผยแพร่รูปแบบอื่นเป็นเวลา 3 ปี

การส่งผลงาน

ส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ ลงทะเบียน หรือลงทะเบียนตอบรับ ถึง

โครงการประกวดเรื่องสั้นฉันทลักษณ์
สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
รศ.ดร.บุณยเสนอ ตรีวิเศษ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
439 ถนนจิระ ต.ในเมือง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ 31000
โทรศัพท์ 08-4518-6262

แบบส่งผลงานผู้เข้าประกวดเรื่องสั้นฉันทลักษณ์

แบบส่งผลงานผู้เข้าประกวดเรื่องสั้นฉันทลักษณ์ ประจำปี 2567 https://docs.google.com/forms

การประกาศผล

  • ประกาศผลผู้เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย ภายในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 ประกาศบนหน้าเฟซบุ๊กแฟนเพจ ชื่อ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย และสื่ออื่น
  • ประกาศผลรอบชนะเลิศ มอบรางวัลวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567 เวลาและสถานที่จะแจ้งให้ทราบภายหลัง (เว้นแต่จะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น)

รางวัลการประกวด

  • รางวัลชนะเลิศ โล่รางวัลพระราชทาน พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท และเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 7,000 บาท และเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท และเกียรติบัตร
  • รางวัลชมเชย 2 รางวัล รางวัลละ 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลชมเชย 5 รางวัล พร้อมเกียรติบัตร

หมายเหตุ: รางวัลอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเห็นของคณะกรรมการตัดสินรอบสุดท้าย โดยอาจไม่มีผู้ได้รับรางวัลใดรางวัลหนึ่ง หรืออาจมีรางวัลใดรางวัลหนึ่งเพิ่มขึ้น หรือมูลค่าของรางวัลเพิ่มขึ้น แต่จะไม่ลดต่ําไปกว่าที่ประกาศไว้นี้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย รศ.ดร.บุณยเสนอ ตรีวิเศษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 439 ถนนจิระ ต.ในเมือง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ 31000 โทรศัพท์ 08-4518-6262

อ้างอิงจาก

〵(^ o ^)〴