ประกวดสื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมเครือข่ายครอบครัวคุณธรรมหัวข้อ “เรื่องดี ๆ ที่บ้านฉัน” ปีที่ 3   

เปิดรับสมัครถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 16.30 น.

Days
Hours
Minutes
Seconds
กิจกรรมปิดรับสมัครแล้ว
ประกวดสื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมเครือข่ายครอบครัวคุณธรรมหัวข้อ “เรื่องดี ๆ ที่บ้านฉัน” ปีที่ 3

ด้วยสํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กําหนดจัดกิจกรรมการประกวดสื่อสร้างสรรค์ส่งเสริม ครอบครัวคุณธรรม หัวข้อ “เรื่องดี ๆ ที่บ้านฉัน” ปีที่ 3 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสื่อสาร ความเข้าใจอันดี ในครอบครัว ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลให้ครอบครัวเป็นสถาบันแรกและสถาบันหลัก อย่างแท้จริง ในการกล่อมเกลาคนในสังคม หรือสมาชิกในครอบครัวให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีพฤติกรรม และค่านิยมที่ดี เป็นครอบครัวคุณธรรมนําไปสู่ชุมชน สังคมคุณธรรมที่มีความรัก สามัคคี เอื้ออาทร ก่อให้เกิด ชุมชน สังคมแห่งความสุข และเป็นการส่งเสริมการผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้สื่อได้มี บทบาทในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงามของคนในสังคม

ประเภทการประกวด

การประกวดสื่อสร้างสรรค์ประเภททีม จํานวนทีมละ 2 คน

รายละเอียดการประกวด

  1. ผลงานที่เข้าร่วมการประกวดต้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับหัวข้อ “เรื่องดี ๆ ที่บ้านฉัน” ปีที่ 3 โดยให้สื่อถึงเรื่องราวดี ๆ ภายในครอบครัว วิถีชีวิต วัฒนธรรมอันดีงาม ค่านิยมไทย การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงการสืบสาน สืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามของไทยจากหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุดคือครอบครัวเป็นตัวอย่างในการอยู่ร่วมกันในสังคมใหญ่อย่างมีวัฒนธรรมและสันติสุข รวมทั้งการเสริมสร้างจิตสาธารณะในการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม
  2. ผลิตผลงานในรูปแบบประเภทคลิปวิดีโอสั้น ความยาว 60 วินาที รวมไตเติ้ล (ถ้ามี) โดยไม่จํากัดวิธีการนําเสนอและวิธีการถ่ายทํา ให้จบด้วยตราประจํากระทรวงวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ “1765 สายด่วนวัฒนธรรม” (ดาวน์โหลดได้ตาม QR Code รายละเอียดกิจกรรม) พร้อมทั้งกําหนดไฟล์เป็น MP4 หรือ MOV มีความละเอียดภาพขั้นต่ำ 1080i ในการส่งเข้าประกวด
  3. สามารถตั้งชื่อผลงานได้ตามความเหมาะสมให้สอดคล้องกับหัวข้อการประกวด พร้อมทั้งอธิบายแนวคิดในการสร้างคลิปวิดีโอในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word ความยาวไม่เกิน 1 หน้า (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ QR Code รายละเอียดกิจกรรม)

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

  1. การส่งผลงานกําหนดให้เป็นประเภททีม ทีมละ 2 คน ประกอบด้วย เด็กหรือเยาวชน อายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ปิดรับผลงานวันสุดท้าย จํานวน 1 คน และผู้ปกครองของเด็กหรือเยาวชน จํานวน 1 คน
  2. ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ จํานวน 1 ผลงาน ต่อ 1 ทีม เท่านั้น
  3. ผลงานจะต้องไม่มีลักษณะลบหลู่ ดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และต้องไม่สร้างความแตกแยก รวมถึงไม่ทําให้ผู้อื่นได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียง ๔.๔ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  4. ผลงานที่เข้าร่วมประกวดทั้งหมดจะต้องผลิตขึ้นใหม่ ไม่เคยเผยแพร่ และส่งประกวด หรือได้รับรางวัลใด ๆ มาก่อน
  5. ผู้ร่วมกิจกรรมต้องรับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูล ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง หรืออื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิตผลงาน 5และไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  6. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผู้ร่วมกิจกรรมจะต้องตกลงยินยอมให้เป็นกรรมสิทธิ์ และลิขสิทธิ์ของสํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม โดยขอสงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์หรือ ลดทอนเนื้อหาได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ตอบแทนทั้งสิ้น
  7. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้รับผิดชอบโครงการสงวนสิทธิ์ ที่จะพิจารณาไม่ตอบปัญหาข้อสงสัยใด ๆ และการตัดสินของคณะกรรมการไม่สามารถโต้แย้งได้ โดยหากมีกรณี ผิดเงื่อนไขจะมอบสิทธิ์ให้กับบุคคล หรือทีมที่อยู่ลําดับคะแนนรองลงมา หรือดําเนินการตามความเหมาะสม (ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงบางประการก่อนการตัดสินในกรณีที่เกิดประเด็นปัญหา)
  8. ในกรณีที่คณะกรรมการหรือผู้รับผิดชอบโครงการตรวจพบหรือทราบในภายหลัง ว่าผู้ส่งผลงานหรือผู้ได้รับรางวัลไม่ปฏิบัติตามกติกา เงื่อนไข ปกปิดข้อเท็จจริง หรือมีการแอบอ้างลอกเลียนแบบ ผลงานของผู้อื่น คณะกรรมการสามารถตัดสิทธิ์ผู้ส่งผลงานหรือผู้ได้รับรางวัลออกจากการเข้าร่วมโครงการ และ ผู้ส่งผลงานหรือผู้ได้รับรางวัลไม่มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และสํานักงานปลัดกระทรวง วัฒนธรรมสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย เรียกคืนรางวัล และดําเนินการทางกฎหมายกับผู้ส่งผลงานหรือผู้ได้รับรางวัลได้

การรับใบสมัครการประกวดและส่งผลงาน

  1. สมัครผ่านระบบออนไลน์ https://shorturl.asia/9X63Z หรือตาม QR Code ด้านล่าง ภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 16.30 น.
  2. ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ culture.scm2@gmail.com ภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 16.30 น. ประกอบด้วย
    • ไฟล์คลิปวิดีโอ
    • ไฟล์เอกสารแนวคิดในการสร้างคลิปวิดีโอในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word

ดาวน์โหลดใบเสนอแนวคิด

ดาวน์โหลดใบเสนอแนวคิดได้ที่ https://drive.google.com/drive

วิธีการตัดสิน

  1. คณะกรรมการตัดสินการประกวดจะพิจารณาคัดเลือกคลิปที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง และรางวัลชมเชย
  2. ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับรางวัลตามที่กําหนด
  3. กําหนดการ และวิธีการดําเนินการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

เกณฑ์การตัดสิน

  1. เนื้อหาของผลงานมีความถูกต้องเป็นไปตามหัวข้อที่กําหนด (เนื้อหาของผลงาน สื่อถึงเรื่องราวดี ๆ ภายในครอบครัว วิถีชีวิต วัฒนธรรมอันดีงาม ค่านิยมไทย การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงการสืบสาน สืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามของไทยจากหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุดคือครอบครัว เป็นตัวอย่างในการอยู่ร่วมกันในสังคมใหญ่อย่างมีวัฒนธรรมและสันติสุข รวมทั้งการเสริมสร้างจิตสาธารณะในการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม
  2. ความคิดสร้างสรรค์
  3. เทคนิคการเล่าเรื่อง
  4. คุณภาพในการผลิต (การถ่ายทํา การตัดต่อและกราฟิก)
  5. การใช้ภาษาและดนตรีประกอบ

การประกาศผลและรับรางวัลการประกวด

  1. สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมจะประกาศผลการตัดสินภายในวันที่ 16 มกราคม 2567 ทางเว็บไซต์ www.m-culture.go.th/surveillance และ Facebook Fanpage กองเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
  2. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
  3. ผู้รับผิดชอบโครงการจะดําเนินการติดต่อผู้ที่ได้รับรางวัลการประกวดเพื่อประสานงาน เกี่ยวกับการรับรางวัลให้ทราบในภายหลัง

รางวัลการประกวด

  • รางวัลชนะเลิศ จํานวน 1 รางวัล เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตรจากกระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับหนึ่ง จํานวน 1 รางวัล เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตรจากกระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับสอง จํานวน 1 รางวัล เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตรจากกระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลชมเชย จํานวน 2 รางวัล (รางวัลละ 10,000 บาท) เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตรจากกระทรวงวัฒนธรรม

ติดต่อสอบถาม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2209 3548 และ Facebook Fanpage กองเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม

อ้างอิงจาก

〵(^ o ^)〴